6 Các câu trả lời

เห็นไหมคะว่า ในน้ำหนักตัวของคุณแม่ที่เพิ่มขึ้นมา 10-12 กิโลกรัมนั้น เป็นไขมันที่สะสมในตัวคุณแม่ถึง 3,000 กรัม หากน้ำหนักตัวคุณแม่เพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ก็จะกลายเป็นไขมันส่วนเกินที่ยากจะกำจัด ยังไม่รวมถึงท้องลาย และรอยแตกในส่วนอื่นๆ ที่เกิดจากร่างกายขยายในช่วงตั้งครรภ์อีกต่างหาก แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายย่อมมีผลต่อจิตใจของคุณแม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วเราจะมีวิธีรับมืออย่างไร คุณแม่มักจะรู้สึกกังวลต่อรูปร่างของตัวเองที่เปลี่ยนไป กลัวว่าจะไม่กลับมาสวยเหมือนเดิม หากคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น้ำหนักของคุณแม่จะค่อยๆ ลดลงเอง คุณแม่หลายคนผอมกว่าตอนก่อนคลอดเสียอีกค่ะ หากคุณแม่ออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยเพื่อลดหุ่นหลังคลอดก็ช่วยให้น้ำหนักลดลงเร็วขึ้นได้อีก สำหรับคุณแม่ที่ไม่ชอบออกกำลังกายก็สามารถลองใช้วิธีลดน้ำหนักโดยไม่ต้องออกกำลังกายได้ด้วย คุณแม่อย่ากังวลไปเลยค่ะ และอย่าลืมว่าความเครียดของคุณแม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์นะคะ หากมีอะไรไม่สบายใจ ให้ปรึกษาคุณหมอที่คุณแม่ฝากครรภ์เพื่อขอคำแนะนำในการคุมน้ำหนักตอนท้องจะดีที่สุดค่ะ

ในช่วง 3 เดือนสุดท้าย น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 5-6 กิโลกรัมตลอด 3 เดือน คุมน้ำหนักตอนท้อง อย่างไรให้อยู่ในเกณฑ์พอดี BMI-index น้ำหนักระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่จะเพิ่มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารของคุณแม่เป็นสำคัญ คุณแม่ต้องการแคลอรีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ของที่เคยได้รับ ซึ่งอาหารแต่ละหมู่นั้นมีประโยชน์และความจำเป็นสำหรับคุณแม่ท้องไม่เท่ากัน คุณแม่ควรทานโปรตีนเพิ่มขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว เพื่อนำไปใช้ในการสร้างอวัยวะและส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารก ทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลให้น้อยลง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว และขนมหวาน เพราะระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายจะนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้น้อยลง และยิ่งคุณแม่ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ยิ่งมีโอกาสอ้วนได้ง่ายค่ะ นอกจากนี้คุณแม่ยังควรหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวที่ได้จากน้ำมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เพราะทำให้คุณแม่อ้วน แต่ลูกน้อยอาจไม่ได้อ้วนตามคุณแม่ไปด้วย

ทำอย่างไรถ้าน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป คุณแม่ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนัก เพราะลูกน้อยในครรภ์จะไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะ แต่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบคุณค่าภายใต้การดูแลแพทย์ ไม่กินจุบจิบ และควรออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์อย่างสม่ำเสมอ โดยยึดหลักการออกกำลังกายสำหรับคนท้อง คือ ไม่รุนแรง ไม่หักโหม และไม่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น การว่ายน้ำ เดินเร็ว การเหยียดแขนขา ก้มตัว บิดตัว เป็นต้น นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยคุมน้ำหนักตอนท้องแล้ว คุณแม่ยังได้ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ นอนหลับได้ดี และยังทำให้ระบบขับถ่ายของเสียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย แต่หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไประหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเพิ่มการรับประทานอาหารให้มากขึ้น ขณะเดียวกันลองปรึกษาแพทย์ ให้แพทย์แนะนำอาหารสุขภาพดีที่จะช่วยคุณเพิ่มน้ำหนักตัวในระหว่างตั้งครรภ์ควบคู่กันไปก็ได้ค่ะ

คนท้องน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ น้ำหนักตัวของคุณแม่ท้องตลอดการตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 10 -12 กิโลกรัม ในช่วง 3 เดือนแรก น้ำหนักคุณแม่อาจยังไม่เพิ่มขึ้น หรือบางคนอาจลดลง เพราะอาการแพ้ท้อง ทานอะไรก็อาเจียนออกมาหมด ในช่วงนี้คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลว่าน้องจะไม่ได้รับสารอาหารนะคะ เพราะตัวอ่อนจะมีอาหารของเขาอยู่ในถุงไข่แดง ยังไม่ได้ทานอาหารผ่านทางคุณแม่ค่ะ ตลอด 3 เดือนแรกน้ำหนักคุณแม่มักเพิ่มไม่เกิน 2 กิโลกรัม ซึ่งมักจะยังดูไม่ออกว่าคุณแม่กำลังมีน้อง ในช่วง 4-6 เดือน น้ำหนักของคุณแม่จะค่อยๆ ขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัม ซึ่งคนอื่นพอจะสังเกตออกแล้วว่าคุณแม่เริ่มอ้วนขึ้น แต่ยังสามารถใส่ชุดปกติได้ ในบางรายหากน้ำหนักขึ้นมากอาจอึดอัดและต้องเปลี่ยนไปใส่ชุดคลุมท้องแทน

รู้ทันร่างกายที่เปลี่ยนแปลงจากการตั้งครรภ์ ร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจทำให้หุ่นสวยของคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล จากที่เคยเอวบางร่างน้อย กลับมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 10-12 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย แบ่งเป็น น้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ 3,000 กรัม น้ำหนักของรก 500 – 700 กรัม น้ำหนักน้ำคร่ำ 1,000 กรัม กล้ามเนื้อมดลูก 1,000 กรัม เต้านม 300-500 กรัม ปริมาณเลือดที่เพิ่ม 1,000 กรัม ปริมาณน้ำในร่างกายของคุณแม่ 1,500 กรัม ไขมันที่สะสมในตัวแม่ 3,000 กรัม

นน น้องตามตารางนะคะ ไม่ควรต่ำกว่า 10 percentile และไม่มากกว่า 90 percentile นะคะ

Câu hỏi liên quan

Câu hỏi phổ biến

Những bài viết liên quan