อาการท้องนอกมดลูกเป็นยังไงคะ

ภาวะที่แทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ค่ะ เกิดจากการที่ตัวอ้อนที่ปฏิสนธิแล้วโดยทั่วไปจะต้องมาฝังที่โพรงมดลูก แต่กลับไปฝังตัวนอกมดลูก เช่นปีกมดลูกหรือท่อนำไข่ ปัจจัยเสี่ยงของการท้องนอกมดลูก ได้แก่ 1. การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะจากเชื้อ Chlamydia trachomatis, และ Nesseria gonorrheae จะทำให้เกิดพังผืดบริเวณปีกมดลูก และรังไข่ ทำให้ท่อนำไข่คดงอ หรือตีบตันบางส่วน ทำให้ขัดขวางการเดินทางของตัวอ่อนที่จะไปฝังตัวที่โพรงมดลูก หรือทำให้การเดินทางช้าลง ทำให้ตัวอ่อนฝังตัวที่ปีกมดลูกก่อน 2. การผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะการผ่าตัดที่บริเวณท่อนำไข่ เช่น การผ่าต่อหมัน ทำให้เกิดพังผืดหรือท่อนำไข่ตีบตันบางส่วนเช่นกัน ส่วนการทำหมันแล้วก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก โอกาสตั้งครรภ์หลังทำหมันมีประมาน 3 ใน 1,000 คนที่ทำหมัน และเมื่อเกิดการตั้งครรภ์หลังทำหมัน มักจะเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก 3. การมีประวัติท้องนอกมดลูกมาก่อน จะเพิ่มความสี่ยงที่เกิดซ้ำในครรภ์ต่อไปมากกว่าคนทั่วไป 7-13 เท่า 4. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี ฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนเพียงอย่างเดียว เช่น ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน อิทธิพลของฮอร์โมนจะทำให้การบีบตัวของท่อนำไข่ช้าลง ทำให้ตัวอ่อนเคลื่อนที่ได้ช้าลง 5. การใส่ห่วงอนามัย (Intrauterine device –IUD) สามารถป้องการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูกได้ แต่ไม่สามารถป้องการฝังตัวของตัวอ่อนที่ปีกมดลูก 6. การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น การกระตุ้นการตกไข่ด้วยฮอร์โมน หรือการทำ กิฟท์ (GIFT,Gamete intrafallopian tube transfer) 7. สตรีตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก มีความเสี่ยงมากกว่าสตรีตั้งครรภ์อายุน้อย 8. สูบบุหรี่ สารพิษจากบุหรี่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของปีกมดลูก และการโบกพัดของขนเล็กๆในท่อนำไข่ อ้างอิงข้อมูลจาก: http://haamor.com/th/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81/
Đọc thêm