8 Các câu trả lời

การรักษาปากแหว่งเพดานโหว่ โรคปากแหว่งเพดานโหว่ ปัจจุบันนี้ ทั้งโรคปากแหว่ง และเพดานโหว่ สามารถรักษาให้หายได้แล้ว โดยวิธีการผ่าตัดปิดช่องโหว่ ด้วยการผ่าตัดที่ทันสมัย 1. การผ่าตัดเพื่อปิดปากแหว่ง มีความง่ายกว่าการรักษาเพดานโหว่  กระบวนการรักษามักจะเกิดขึ้นภายใน 3-4 เดือนหลังจากเกิด และบาดแผลมักจะจางไปเมื่อเด็กโตขึ้น 2. สำหรับอาการเพดานโหว่ การผ่าตัดมักจะต้องรอจนกระทั่งเด็กอายุ 1-2 ปี เมื่อขากรรไกรบนโตเต็มที่ 3. ถ้ามีอาการรุนแรงมาก การผ่าตัดอาจต้องรอจนกระทั่งเด็กอายุ 5-7 ปีเพื่อป้องกันปัญหาทางโครงสร้าง ในบางกรณี การผ่าตัดอาจไม่สามารถปิดรอยโหว่ได้สนิท ซึ่งจำเป็นต้องใช้ฟันเทียมทั้งปาก เพื่อปิดรอยแยก และทำให้สามารถรับประทานอาหารได้อย่างปกติ 4. อาจต้องมีการผ่าตัดหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเพดานโหว่ ศัลยกรรมพลาสติก และช่องปากจะเป็นผู้ทำการผ่าตัดส่วนหน้า ส่วนทันตแพทย์ทั่วไป ทันตแพทย์จัดฟัน หรือแพทย์ทางหู คอ จมูก จะทำเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขข้อบกพร่อง 5. การรักษาเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ จึงต้องอาศัยแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผน และให้การดูแลรักษาเป็นกลุ่ม ซึ่งประกอบ ด้วยศัลยแพทย์ตกแต่ง กุมารแพทย์ แพทย์ทางหูคอจมูก ทันตแพทย์ จัดฟัน จิตแพทย์ แพทย์เวชพันธุศาสตร์ นักภาษาบำบัด และนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดต่อเด็ก และครอบครัว

ปากแหว่งเพดานโหว่ ก่อให้เกิดผลกระทบใดบ้าง ปากแหว่งเพดานโหว่ 1. ปัญหาการดูดกลืนอาหาร เพราะจะทำให้นมไหลย้อนขึ้นไปที่จมูกผ่านช่องเพดานโหว่ เกิดการระคายเคืองจมูก ยิ่งทานนมผสมจะมีอาการมากกว่าทานนมแม่ ทำให้ทารกกระสับกระส่าย ร้องไห้ กวนบ่อย และไม่อยากดูดนม 2. ปัญหาการเจริญเติบโตช้า เพราะมีความลำบากในการดูดกลืนอาหาร   จึงส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ช้าได้ 3. ปัญหาทางเดินหายใจ การดูดกลืนนม หรืออาหารที่ยากลำบาก อาจทำให้สำลัก ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ 4. ปัญหาด้านการพูด ทำให้พูดช้า พูดออกเสียงไม่ชัด อาจทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อยได้ 5. ปัญหาฟันผิดปกติ ความผิดปกติของโครงสร้างริมฝีปากเพดาน และจมูก ทำให้มีความผิดปกติของโครงสร้างของฟัน และการสบกันของฟัน เช่น ฟันล่างครอบฟันบน ฟันบน และฟันล่างไม่สบกัน ฟันขาดหายไป ฟันขึ้นผิดที่ และผิดตำแหน่ง เป็นต้น

การป้องกันอาการปากแหว่งเพดานโหว่ คำแนะนำของ ร.ศ. ดร.เบญจมาศ พระธานี  นักแก้ไขการพูด  ถึงการป้องกันอาการปากแหว่งเพดานโหว่ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนี้ 1. คุณแม่ตั้งครรภ์ควรงดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์ 2. การรับประทานยาระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอ หรือเภสัชกร ทุกครั้ง 3. ออกกำลังกาย 4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 5. การลดความเครียด 6. รับประทานอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม ตามที่คุณหมอแนะนำ โดยเฉพาะอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ และเน้นอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น บรอคโคลี เมล็ดธัญพืช ตับ เป็นต้น 7. คุณแม่ควรได้รับวิตามิน บี 6 วิตามินบี 12 ธาตุสังกะสี และกรดโฟลิค ก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 2 เดือน จนกระทั่ง 3 เดือนหลังการตั้งครรภ์ หรือตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อให้การเกิดการสร้างอวัยวะของโครงสร้างเพดานในตัวอ่อนของทารกในครรภ์ได้สมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ได้

สาเหตุของปากแหว่งเพดานโหว่ ปัจจัยภายนอก เชื่อว่าปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับอาการปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นไปได้สูงถึงประมาณ 80-88% โดยปัจจัยภายนอกที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับอาการปากแหว่งเพดานโหว่  ได้แก่ 1. การเจ็บป่วยของแม่เมื่อตั้งครรภ์ 2. ภาวะขาดสารอาหารของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ ติดต่อโฆษณา 3. แม่สูบบุหรี่จัด 4. แม่ได้รับยา หรือสารบางชนิดต่อเนื่อง เช่น ยากันชักเช่น ฟีไนโตอิน (Phenytoin), ไดแลนติน (Dilantin) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) สารพิษ สารเคมี การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การขาดกรดโฟลิคในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น ปัจจัยภายใน เกิดจากกรรมพันธุ์  พบว่า อาการนี้มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมได้ประมาณ 12-20% ของผู้ป่วยทั้งหมด บทความแนะนำ  ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เลี่ยงโรคทางพันธุกรรม

ทำความรู้จัก : ปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft lip and cleft palate) ร.ศ.ดร. เบญจมาศ พระธานี  นักแก้ไขการพูด  กล่าวถึง  อาการ ปากแหว่งเพดานโหว่  โดยสรุปได้ ดังนี้ 1. ในประเทศไทย มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ประมาณ 1.01 - 2.49 คนต่อทารกแรกเกิด 1,000 คน 2. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด คือ มีประมาณ 2.49 รายต่อเด็กแรกเกิด 1,000 ราย ประมาณว่า จะมีเด็กแรกเกิดใหม่ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราสูงถึงประมาณ 700-800 รายต่อปี

ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคปากแหว่งเพดานโหว่ การวางแผนจะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอในการใช้ยาวิตามินต่าง ๆ และกรดโฟลิกตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันการเกิดอาการปากแหว่งเพดานโหว่  สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่อยู่แล้ว การมีลูกคนต่อไปควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมโดยตรงอีกทางหนึ่งด้วย

ลักษณะปากแหว่งเพดานโหว่ที่พบ ปากแหว่งเพดานโหว่ ปากแหว่ง คือ  อาการที่ริมฝีปากบนแยกออกจากกัน เป็นอาการที่พบกับทารก 1 คนใน 700 คนในสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับเพดานโหว่ อาการปากแหว่งเกิดจากการที่สองซีกของใบหน้าไม่สามารถประกบกันได้พอดีในช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์

เพดานโหว่  คือ  การที่มีช่องเปิดระหว่างเพดานปากและฐานจมูก เกิดจากการที่ขากรรไกรบนของทารกไม่สามารถปิดได้สนิทในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดช่องว่าง อาการเพดานโหว่จะมีความรุนแรงกว่าอาการปากแหว่ง

Câu hỏi liên quan

Câu hỏi phổ biến