23w4d
ปวดท้องบนด้านขวาคืออะไรค่ะ แม่ๆคนไหนทราบบ้างค่ะ ขยับนิดเดียวก็ปวด
วิธีการแก้อาการปวดซี่โครง 1.สวมเสื้อหลวมๆ หากคุณแม่มีอาการปวดซี่โครง แน่นหน้าอก หรือหายใจไม่ออก แนะนำให้ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ เพราะการใส่เสื้อผ้ารัดแน่นๆ นั่นจะยิ่งทำให้คุณแม่หายใจลำบากมากขึ้น 2.เลือกชุดชั้นในให้เหมาะกับคนท้อง อย่าคิดว่าแค่ชุดชั้นในไม่สำคัญ คุณแม่ต้องอย่าลืมว่าร่างกายของคุณท้องจะเปลี่ยนแปลง หน้าอกต้องขยาย บางทีเสื้อชั้นในที่เราใส่ได้พอดีอาจกลายเป็นคับแน่นจนเกินไป คุณแม่ต้องเปลี่ยนเมื่อรู้สึกว่าเริ่มอึดอัด แล้วเลือกชุดชั้นในที่มีขนาดพอดีกับหน้าอก รองรับหน้าอกให้เป็นอย่างดี สิ่งนี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ค่ะ 3.ปรับเปลี่ยนท่าทาง การปรับเปลี่ยนท่านั่งจะช่วยให้คุณแม่ลดอาการเจ็บลง โดยพยายามให้นั่งหลังตรง เพื่อที่คุณแม่จะได้เพิ่มพื้นที่ให้มากขึ้น เมื่อมีพื้นที่มากขึ้นคุณแม่ก็จะไม้รู้สึกเจ็บบริเวณซี่โครง หรืออาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ค่ะพยายามเปลี่ยนท่าทางในการนั่งหรือยืน 4.การเคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังเบาๆ ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้คุณแม่สามารถบรรเทาอาการเจ็บลงได้ โดยมีวิธีดังนี้ ให้คุณแม่นั่งลงกับพื้น ชูแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ ให้คุณพ่อช่วยดึงแขนเบาๆ อย่างช้าๆ ทำแบบเดิมซ้ำๆ ประมาณ 10 นาที อีกวิธีในการออกกำลังกาย ที่จะช่วยในการยกซี่โครงของคุณแม่ขึ้น เพื่อลดอาการปวด โดยมีวิธีการดังนี้ ให้คุณแม่หันหน้าเข้าหากำแพง โดยให้ห่างจากระยะประมาณ 40 ซม. ยื่นแขนออกไปดันกับกำแพง ค่อยขยับแขนเลื่อนขึ้นเหนื่อยหัว ยื่นตัวข้างไว้สักพัก ในท่าที่สบาย 5.ใช้หมอนลดอาการปวด เวลาปวดให้นำหมอนหนุนมารองเวลานอน เพื่อช่วยลดแรงกดทับของกระดูก โดยให้หนุนบริเวณท้องให้น้ำหนักกระจายออกไป ส่วนเวลานอนแนะนำให้นอนตะแคงซ้ายจะดีที่สุดค่ะ
Đọc thêmเจ็บร้าวใต้อกหรือเปล่าคะ บริเวณซี่โครง สาเหตุที่ทำให้คนท้องปวดนู้น ปวดนี่ ก็มาจากฮอร์โมนของร่างกาย ที่มีชื่อว่า relaxin ซึ่งออร์โมนชนิดนี้จะผลิตมากในช่วยไตรมาสสุดท้าย โดยมันจะทำให้ข้อต่อกระดูกและเส้นเอ็นมีความอ่อนตัวและยืดมากขึ้น เพื่อให้คุณแม่คลอดลูกได้ง่ายขึ้น เมื่อหน้าท้องมีความยืดตัวเยอะก็จะไปเบียดเบียนยังอวัยวะภายในร่างกาย ทำให้คุรแม่ปวดซี่โครงมากขึ้น ไหนจะปวดหลัง ปวดเอว เข้าห้องน้ำบ่อย ท้องอืด ท้องแน่น และอีกสารพัดปัญหาของคนท้องค่ะ แน่นอนว่าเมื่อมดลูกที่อยู่บริเวณหน้าท้องขยายตัวขึ้น โพรงมดลูกก็จะดันไปกดทับเอาซี่โครง จนไปเบียดเข้าที่ปอด ทำให้บางครั้งคุณแม่จะรู้สึกว่าหลังๆ เริ่มหายใจเร็ว ถี่มากขึ้น เพราะพื้นที่ปอดที่ลดลงนั่นเองค่ะ
Đọc thêm