6 Các câu trả lời
การเจาะน้ำคร่ำเป็นหัตถการที่ทำกันมากที่สุดในการหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกก่อนคลอด เพื่อให้คู่สามีภรรยามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ซึ่ง ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำ หรือกระบวนการต่าง ๆ หากคุณแม่ได้ศึกษาไว้ อาจช่วยทำให้ลดความกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ลงได้ ก่อนเจาะน้ำคร่ำ แพทย์จะให้ความรู้และอธิบายเกี่ยวกับการเจาะน้ำคร่ำให้คุณพ่อคุณแม่ทราบก่อน จากนั้นจึงเป็นการตัดสินใจของทั้งคู่ว่าจะรับการตรวจโดยการเจาะน้ำคร่ำหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะผู้ที่จะได้รับการตรวจคือ ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำ แม่ตั้งครรภ์ที่อายุตั้งแต่35 ปีขึ้นไป นับถึงวันกำหนดคลอด ซึ่งมีโอกาสที่ทารกในครรภ์เป็นภาวะกลุ่มอาการดาวน์ได้มากขึ้น แม่ตั้งครรภ์ที่เคยมีบุตรที่มีความผิดปกติของโครโมโซมในครรภ์ก่อน หรือทั้งตัวเองและสามีที่มีโครโมโซมผิดปกติ แม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจคัดกรองทางชีวเคมีแล้วพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่ทารกในครรภ์จะมีความผิดปกติของโครโมโซม เมื่ออัลตราซาวด์แล้วพบความผิดปกติของทารกในครรภ์ ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า คุณแม่ที่เคยมีประวัติแท้งบ่อย และการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาภาวะอื่น ๆ เช่น การตรวจหาการติดเชื้อในทารก การตรวจหา bilirubin ในการพยากรณ์ความรุนแรงของโรค Rh isoimmunization การตรวจวิเคราะห์ทางด้าน DNA เป็นต้น เจาะลึก 5 ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำ ได้ผลอะไร เสี่ยงไหม ? การเจาะตรวจน้ำคร่ำจะทำในช่วงเวลาที่ทารกมีปริมาณน้ำคร่ำมากเพียงพอ ซึ่งอยู่ในอายุครรภ์ประมาณ 14 ถึง 20 สัปดาห์ ถ้าคุณแม่ตัดสินใจว่าต้องการเจาะน้ำคร่ำ ก็ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ก่อนเจาะ 3 – 4 ชั่วโมงควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณของน้ำคร่ำเพียงพอ แต่ควรถ่ายปัสสาวะก่อนเข้ารับการเจาะน้ำคร่ำ
5 ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำ 1.แพทย์จะทำการตรวจครรภ์โดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อคาดคะเนอายุครรภ์ที่แน่นอน จำนวนของทารก การเต้นของหัวใจ ท่าและตำแหน่งของทารก ตำแหน่งของรก ว่าอยู่ที่ตรงไหนเพื่อป้องกันไม่ให้เข็มแทงไปถูกทารก สายสะดือ หรือรก 2.ก่อนเจาะ แพทย์จะเตรียมทำความสะอาดผิวหนังหน้าท้องบริเวณที่จะเจาะด้วยยาฆ่าเชื้อ บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดใต้ผิวหนัง 3.เข็มที่ใช้เจาะน้ำคร่ำจะเล็ก ๆ ยาว ๆ โดยแพทย์จะทำการเจาะผ่านผนังหน้าท้อง ผ่านลงไปที่มดลูก เข้าไปในถุงน้ำคร่ำแล้วดูดเอาน้ำคร่ำปริมาณ 15 -30 ml. (1ml. / อายุครรภ์ 1 สัปดาห์) ออกมาเพื่อนำไปปั่นหาเซลล์ของทารก และเพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมต่อไป 4.ในขณะที่ทำการเจาะคุณแม่อาจมีความรู้สึกเจ็บเหมือนถูกเข็มแทงสัก 2 -3 วินาที คล้ายกับการฉีดยา หรือแม่บางท่านอาจรู้สึกเหมือนถูกกดบริเวณท้องน้อยขณะที่มีการดูดน้ำคร่ำออกไป 5.การเจาะน้ำคร่ำใช้เวลาเพียง 2 –3 นาที หลังจากเจาะน้ำคร่ำเสร็จแล้วบางรายอาจรู้สึกเกร็งเล็กน้อย เมื่อนอนพักซักระยะก็จะทำให้ดีขึ้น คุณแม่ก็สามารถกลับบ้านได้ ภายใน 12 ชั่วโมงร่างกายจะสร้างน้ำคร่ำมาทดแทนได้เหมือนเดิม และคุณหมอจะทำการนัดเพื่อฟังผลตรวจภายใน 2 – 3 สัปดาห์
คงไม่ได้เจาะแล้วค่ะเกิน20วีคแล้ว ขอบคุณค่ะ
ผลบ่งชี้ที่ได้จากการเจาะน้ำคร่ำ เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติทางโครโมโซมของทารก เช่นโรค Down syndrome,cystic fibrosis เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อในน้ำคร่ำของทารก เพื่อประเมินความแรงของปอดของทารก ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง) และการตรวจน้ำคร่ำในระยะใกล้คลอด สามารถใช้วินิจฉัยปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาของกลุ่มเลือด หรือ การติดเชื้อ และยังช่วยบอกถึงความพร้อมของทารกในครรภ์ว่าเติบโตเต็มที่ ปอดสมบูรณ์พอที่จะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่หากพบภาวะการคลอดก่อนกำหนด ผลข้างเคียงและความเสี่ยงของการเจาะน้ำคร่ำ แม้ว่าการเจาะน้ำคร่ำ จะเป็นการตรวจโดยใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านผิวหนังหน้าท้องของคุณแม่เข้าไปยังถุงน้ำคร่ำของทารก และถือเป็นการเจาะที่ค่อนข้างปลอดภัยโดยแพทย์ที่มีความชำนาญ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ปลอดเชื้ออย่างถูกต้องตามมาตรฐานแล้วก็ตาม แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายหลังการตรวจที่พบได้ เช่น
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-144385)
ใช่ค่ะเจาะได้แค่ 17 w เท่านั้นหลังจากนั้นไม่ทันแล้วค่ะ
แลกกับความสบายใจมันคุ้มมากๆเลยค่ะแม่
KhaiMook Sirikamol