8 Các câu trả lời
ก่อนกำหนด ครบกำหนด เกินกำหนด ดูอย่างไร 1. คลอดก่อนกำหนด หากทารกคลอดในช่วงระหว่างอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ถึงก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ หรือ 259 วัน เรียกว่า การคลอดก่อนกำหนด และเรียกทารกที่เกิดว่า ทารกคลอดก่อนกำหนด แต่ถ้าทารกคลอดก่อนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ซึ่งทารกมักเสียชีวิต กรณีแบบนี้เรียกว่า การแท้ง 2. คลอดครบกำหนด ในทางการแพทย์นั้น จะถือว่าการคลอดก่อน หรือหลังกำหนดวันคลอด 2 สัปดาห์ คือระหว่างสัปดาห์ที่ 38 หรือสัปดาห์ที่ 42 ยังอยู่ในระยะที่ถือว่าเป็นการคลอดครบกำหนด 3. ตั้งครรภ์เกินกำหนด การตั้งครรภ์เกินกำหนด คือการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 42 สัปดาห์เต็ม (294 วัน) หรือมากกว่า โดยเริ่มนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ดังนั้น ถ้าคุณแม่คลอดก่อนหรือหลังวันที่คำนวณไว้ 2 สัปดาห์ ก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะมีสุขภาพไม่แข็งแรง หรือเมื่อถึงกำหนดคลอดแล้ว คุณแม่ยังไม่เจ็บครรภ์คลอดสักที ก็ไม่ต้องแปลกใจ ถ้าคุณหมอตรวจแล้วบอกว่าไม่เป็นอะไร เนื่องจากคุณแม่ท้องบางคนมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้การคำนวณวัดคลอดอาจคลาดเคลื่อนไปได้ ถ้าห่างกันมากกว่า 28 วัน ก็อาจจะคลอดช้ากว่ากำหนด แต่ถ้าห่างกันน้อยกว่า 28 วัน ก็อาจจะคลอดก่อนวันที่กำหนดไว้ได้นั่นเอง จำประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้ จะนับอายุครรภ์อย่างไร แม่ท้องหลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า ถ้าจำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายไม่ได้ จะนับอายุครรภ์ และคำนวณวันคลอดอย่างไร เนื่องจากแม่ท้องหลายคนก็จำไม่ได้ และไม่ได้มีการจดบันทึกวันที่มีประจำเดือนไว้ หรือเพราะประจำเดือนมาไม่ค่อยสม่ำเสมอ หรืออาจเกิดจากการกินยาคุมกำเนิด หรือฉีดยาคุมกำเนิด พอหยุดคุมกำเนิดประจำเดือนก็หายไป หลายเดือนต่อมาจึงรู้สึกว่ามีอาการแพ้ท้อง หรือประจำเดือนขาด ในขณะที่คุณแม่บางคนก็อาจจะอยู่ในช่วงให้นมลูกแล้วตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัวก็มี ในกรณีแบบนี้ หากคุณแม่ไปพบคุณหมอ หมอก็จะตรวจภายใน และคาดคะเนตามขนาดของมดลูก ซึ่งก็จะเป็นการกำหนดวันคลอดอย่างคร่าว ๆ ได้ แต่การคาดคะเนด้วยวิธีนี้ อาจทำให้วันกำหนดคลอดคลาดเคลื่อนไปได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรืออีกวิธีที่ใช้นับอายุครรภ์ นั่นก็คือ การทำอัลตราซาวด์ โดยเครื่องอัลตราซาวด์จะช่วยวัดขนาดความกว้างของหัวเด็กและความยาวของเด็กในครรภ์ เมื่อนำมาคำนวณก็จะบอกได้ว่า คุณแม่ตั้งครรภ์มาแล้วประมาณกี่สัปดาห์ แต่ก็อาจจะมีความคลาดเคลื่อนจากที่คำนวณได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์เช่นกัน ซึ่งการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์จะมีความแม่นยำสูงขึ้น หากตรวจในช่วงอายุครรภ์หลังจาก 3 เดือนไปแล้ว
วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณวันคลอด วิธีการนับอายุครรภ์นั้น ไม่ใช่เรื่องยาก หากแม่ท้องจำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายได้ ซึ่งตลอดอายุการตั้งครรภ์จนถึงวันคลอด จะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน โดยจะเริ่มนับจากวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย ไม่ใช่เริ่มนับจากวันสุดท้ายของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุดนะ หรือนับจากวันที่ประจำเดือนถึงกำหนดจะมาแต่ไม่มา ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ประจำเดือนของคุณแม่มาครั้งล่าสุดวันที่ 1 มกราคม และประจำเดือนหมดวันที่ 5 มกราคม 2560 และกำหนดที่ประจำเดือนครั้งต่อไปควรจะมาอีกครั้งคือวันที่ 28-29 มกราคม 2560 ดังนั้นประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาคือวันที่ 1 มกราคม (ไม่ใช่วันที่ 5 หรือ 28-29 มกราคม) โดยจะมีสูตรในการคำนวณวันคลอดแบบง่าย ๆ ดังนี้ 1. นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย แล้วบวกไปอีก 9 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ยกตัวอย่างเช่น วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของแม่ท้องคือวันที่ 1 มกราคม 2560 ก็ให้บวกไปอีก 9 เดือน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม 2560 แล้วนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้กำหนดคลอดตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2560 นั่นเอง 2. นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายย้อนหลังไป 3 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน เช่น วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของแม่ท้องคือวันที่ 1 มกราคม 2560 ก็ให้นับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน คือ ธันวาคม พฤศจิกายน และตุลาคม และนับบวกไปอีก 7 วัน กำหนดวันคลอดก็ จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2559 เหมือนกับวิธีแรก ซึ่งสูตรการคำนวณวันคลอดทั้ง 2 วิธีนี้ จะให้ผลเหมือนกัน ก็แล้วแต่ว่าคุณแม่จะสะดวกใช้วิธีคำนวณวันคลอดแบบไหน ก็เลือกใช้ได้เลย วิธีคำนวณวันคลอดดังกล่าว จะแม่นยำในกรณีที่คุณแม่ท้องจำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายได้เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วจะมีคุณแม่เพียง 5-6% เท่านั้นที่จะคลอดลูกตรงกับกำหนดวันคลอดพอดี คุณแม่ส่วนใหญ่ก็มักจะคลอดก่อนวันที่กำหนดไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ และอีก 40% มักจะคลอดลูกเกินกำหนดคลอด ซึ่งร้อยละ 25 ของคุณแม่ท้องในกลุ่มนี้ จะคลอดเมื่อมีอายุครรภ์ได้ 42 สัปดาห์, ร้อยละ 12 จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ได้ 43 สัปดาห์ และที่เหลือเพียง 3% จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 44 สัปดาห์
อายุครรภ์ เค้านับกันอย่างไร ในช่วงที่คุณตั้งครรภ์ คำถามที่มักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า อายุครรภ์เท่าไหร่แล้ว ลูกกี่เดือนแล้ว ใกล้คลอดหรือยัง แต่ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรกันล่ะว่า จะนับ อายุครรภ์ อย่างไร อายุครรภ์ของเราเท่าไหร่แล้ว? การนับอายุครรภ์ อายุครรภ์ ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คุณแม่ท้องต้องทำความเข้าใจ เพราะการทราบ อายุครรภ์ นอกจากจะช่วยตอบคำถามคนรอบตัวที่คอยถามกันอยู่ตลอดแล้ว ที่สำคัญก็คือเพื่อเป็นการคำนวณวันคลอด อีกทั้ง อายุครรภ์ ยังสามารถบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ ช่วยให้คุณหมอวางแผนการตรวจครรภ์ได้ง่าย ปลอดภัย และแม่นยำ
โดยการตั้งครรภ์ จะแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ได้แก่ ไตรมาสที่ 1: สัปดาห์ที่ 1-สัปดาห์ที่ 13 (เริ่มปฏิสนธิ-เดือนที่ 3) ไตรมาสที่ 2: สัปดาห์ที่ 14-สัปดาห์ที่ 27 (เดือนที่ 3-เดือนที่ 6) ไตรมาสที่ 3: สัปดาห์ที่ 28-สัปดาห์ที่ 42 (เดือนที่ 6-เดือนที่ 9) อายุครรภ์ นับเป็นสัปดาห์หรือเดือน ส่วนใหญ่แล้ว อายุครรภ์ จะนับกันเป็นสัปดาห์ ซึ่งสาเหตุที่ต้องนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ นั่นก็เป็นเพราะการนับอายุครรภ์แบบเป็นเดือน จะไม่มีความละเอียดเพียงพอ เนื่องจากจำนวนวันในแต่ละเดือนนั้นมีไม่เท่ากัน คือมี 31 วันบ้าง 30 วันบ้าง หรือ 28 – 29 วันก็มี ดังนั้นการนับ อายุครรภ์ เป็นสัปดาห์ จึงมีความถูกต้องแม่นยำกว่านั่นเอง
ต้องเช็คจากการซาวเด็กจ้าแม่ ถ้าอายุครรภ์แบบแน่ๆเลย ถ้าหมอนับหรือนับเองจาก ปจด.ขาดไป อาจจะคลาดเคลื่อนได้คะ
เรากำหนดคลอดวันที่29พฤษภาคม62 ตอนนี้เรา30วีค3วันค่ะ ของเธอก้อ30วีค2วันค่ะ
ของเราเข้ากำหนดคลอด27 พค ตอนนี้ได้ 36+2 วีคแล้วจ้า
กำหนด 26พฤษภาคม ตอนนี้ 30w5dค่า
ฟอง' เบียร์