Về chúng tôiChính sách bảo mậtĐiều khoản sử dụngTiêu chuẩn cộng đồngSơ đồ trang web
Tải app miễn phí của chúng tôi
Teacher at Kidder Club
มาเปลี่ยน "ห้าม ไม่ อย่า หยุด" ให้กลายเป็นคำพูดเชิงบวกกันค่ะ
แรก ๆ อาจจะยากสักหน่อย ใช้ไปเรื่อย ๆ จะสร้างความเคยชินใหม่ ทำให้ใช้ง่ายขึ้นค่ะ ❤ นอกจากจะทำให้เกิดความรู้สึกดีแล้ว ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ด้วย * ใช้ได้ตั้งแต่ตอนเป็นทารกยันโตได้เลย ใครมีคำพูด "ห้าม ไม่ อย่า หยุด" ที่ยังไม่รู้จะเปลี่ยนเป็นเชิงบวกยังไง มาคอมเม้นไว้ได้ค่ะ 😄
Q : ลูกชอบโยนอาหารมากเลยค่ะ ต้องสอนยังไงดี ? A : เด็กเล็ก กินเพื่อ “สำรวจ” ไม่ใช่เพื่อ “อิ่ม”
เวลากินข้าวเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของหลาย ๆ บ้าน และเป็นช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายของหลาย ๆ บ้านเช่นกัน ลูกเอาข้าวเข้าปากบ้าง เอามาเล่นบ้าง แม่ก็ลุ้นใจจดใจจ่อ กลัวลูกจะไม่อิ่ม แต่ในของเด็ก เขาไม่ได้จะกินให้ “อิ่ม” แต่เขากำลัง “สำรวจ” อาหารตรงหน้าอยู่ 1. เข้าใจก่อนว่า เด็กวัยก่อน 1 ขวบ จะใช้ประสาทสัมผัสในการสำรวจโลก ไม่ว่าจะใช้ตามอง หูฟัง จมูกดม ผิวสัมผัส และลิ้นชิมรส 2. อาหารหลักของเด็กวัยนี้คือ “นม” ส่วนอาหารอื่นเป็นเพียงอาหารเสริม (ถ้ากินนม ไม่กินข้าว ก็ยังโอเคอยู่ค่ะ) 3. เป้าหมายของการนั่งกิน : เพื่อให้ลูกเกิดความรู้สึกที่ดี ให้มีความสุขกับการกิน ให้เขาได้ใช้ตามอง ใช้ลิ้นชิมรส ใช้จมูกดม ใช้มือคลำหยิบจับได้เต็มที่ มากกว่าจะกินเพื่อให้อิ่ม 4. การหยิบอาหารออกจากจานก็เป็นวิธีหนึ่งที่เด็กใช้สำรวจเช่นกัน คุณแม่อาจหาผ้าสะอาด ๆ มาปูรองพื้น เก็บอาหารที่ตกบนผ้าปูมาให้ลูกสำรวจใหม่ได้ 5. สำคัญคือเราทำใจนิ่ง ๆ ไว้ ทำให้เหมือนเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องแสดงอาการตกใจหรือดุลูกค่ะ ตกก็เก็บขึ้นมาได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ 6. เน้นที่ให้ลูกมีความรู้สึกที่ดีกับการกิน ควรให้ลูกร่วมโต๊ะอาหารด้วยทุกมื้อ (แม้ว่าลูกจะไม่มีอาหารในมื้อนั้น) และนั่งกินพร้อมกันด้วยเลย เพื่อเป็นตัวอย่างและสร้างบรรยากาศที่ดีในการกิน //แต่ละบ้านเป็นอย่างไรกันบ้างมาแชร์กันได้ค่ะ 😊