Về chúng tôiChính sách bảo mậtĐiều khoản sử dụngTiêu chuẩn cộng đồngSơ đồ trang web
Tải app miễn phí của chúng tôi
คุณแม่
ท้องแข็ง เป็นอย่างไร? ท้องแข็งบ่อยเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดไหม
ท้องแข็ง หนึ่งในอาการที่แม่ท้องในไตรมาสที่ 3 ต้องเจอ และอาการท้องแข็งก็เป็น 1 ในสัญญาณของอาการใกล้คลอดอีกด้วย ทำให้แม่ท้องที่มีอาการท้องแข็งเร็วเกิดความกังวลว่าอาจจะทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ ท้องแข็ง เป็นอย่างไร? ท้องแข็งบ่อยเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดไหม? ท้องแข็ง เป็นอย่างไร? แม่ท้องหลาย ๆ คน โดยเฉพาะแม่ท้องท้องแรก มักจะไม่แน่ใจในอาการท้องแข็งที่เกิดขึ้นกับตน ว่าใช่อาการท้องแข็งหรือไม่ หรือเป็นเพียงอาการท้องอืดทั่ว ๆ ไป พญ.ธาริณี ลำลึก สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ศูนย์สุขภาพหญิง รพ.พญาไท ได้อธิบายเกี่ยวกับอาการท้องแข็งเอาไว้ว่า อาการท้องแข็ง คือ เมื่อเอามือไปจับบริเวณท้องจะรู้สึกได้ว่าเป็นก้อน ๆ ตึง ๆ และมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เป็นพัก ๆ ในบางรายอาจมีความแข็งมาก-น้อยแตกต่างกันออกไป หรือมีอาการปวดเกร็งเสียวช่วงท้องน้อยด้วย โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการท้องแข็งได้ วันละ 3-4 ครั้ง ในช่วงไตรมาส 3 แต่จะไม่สม่ำเสมอ โดยอาการท้องแข็ง ท้องจะแข็งไปทั่วทั้งท้อง แตกต่างจาก ท้องแข็ง เพราะลูกโก่งตัว อาการท้องแข็งเพราะลูกโก่งตัว ลักษณะท้องที่แข็งจะแข็งไม่ทั่วท้อง หากคุณแม่จับดูที่ท้องจะพบว่าท้องมีลักษณะทั้งแข็งและนิ่มอยู่ในเวลาเดียวกัน ซึ่งท้องแข็งแบบนี้เป็นเพราะลูกในท้องดิ้น หรือโก่งตัวขึ้น ที่คุณแม่จะเห็นว่าหน้าท้องนูนแข็งเด่นขึ้นมาเป็นจุดเล็กๆ โดยปกติแล้วท้องแข็งลักษณะนี้ไม่ถือว่าเป็นเรื่องปกติไม่ได้มีอันตรายอะไรกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ สาเหตุของอาการท้องแข็ง (ที่ไม่ใช่ท้องแข็งในช่วงใกล้คลอด) แม่ท้องมีความเครียดในขณะตั้งครรภ์ เมื่อแม่ท้องเครียด จะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวะเคมีในร่างกายของคุณแม่ ประกอบด้วย การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนความเครียด และทำให้สภาพภายในมดลูกง่ายต่อการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ และอาจเกิดอาการท้องแข็งได้ (อ่านต่อ เครียดตอนท้อง ระวัง 7 ผลร้ายที่แม่ท้องต้องเจอ..หากเครียดเกิน!) ทารกในครรภ์ดิ้นมากอาจไปโดนกับผนังมดลูก มดลูกถูกกระตุ้นจึงเกิดการบีบตัว มดลูกเกิดการบีบตัวเองจากกล้ามเนื้อมดลูกขาดเลือด เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คลอดก่อนกำหนด หรือแท้งได้ การกินอาหารและมีแก๊สในกระเพาะอาหาร เมื่อใดก็ตามที่กินอาหารลงไปเยอะ ๆ ก็อาจไปเบียดกับมดลูกจนรัดตัวได้เหมือนกัน (อ่านต่อ คนท้อง ท้องอืด รับมือได้ไม่ยากอย่างที่คิด) พฤติกรรมกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการท้องแข็ง เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนัก มีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง และการกลั้นปัสสาวะบ่อย
แม่ท้องต้องรู้! 5 วิธีการดูแลตัวเอง ในระหว่างตั้งครรภ์
1. ห้ามเครียด หาอะไรที่ทำให้ผ่อนคลายความเครียดลง ไม่จมอยู่กับปัญหา เพราะเมื่อคุณแม่เครียดอาจจะส่งผลกระทบถึงลูกน้อยในครรภ์ ถ้าอยากให้ลูกน้อยอารมณ์ดีสมบูรณ์แข็งแรง คุณแม่ต้องไม่เครียดนะคะ 2. เลือกทานอาหาร คุณแม่จะต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และต้องให้ครบ 5 หมู่ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและบำรุงร่างกายของคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ให้แข็งแรง 3. ออกกำลังกาย คุณแม่สามารถออกกำลังกายได้ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ที่ดูแลว่าการออกกำลังกายอย่างไรจะเหมาะสมกับคุณแม่ 4. หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูง เพราะเมื่อท้องคุณแม่เริ่มใหญ่ขึ้น จะทำให้การทรงตัวลำบาก อาจจะหกล้มได้ จึงควรสวมรองเท้าส้นเตี้ยที่นุ่มและสบายเท้าจะดีกว่าค่ะ 5. ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาและเครื่องสำอาง เพราะในครีมและเครื่องสำอางบางชนิด จะมีส่วนผสมของสารที่เป็นอันตราย เพื่อความปลอดภัยของทารกน้อยในครรภ์