โรคเท้าปุก คืออะไรคะ เกิดขึ้นอย่างไร ป้องกันได้ไหมคะ แล้วถ้าเป็นจะแก้ไขอย่างไรคะ ต้องผ่าตัด หรือ ทำกายภาพบำบัด หรือคะ?
เป็นการผิดรูปแต่กำเนิด ลักษณะของเท้ามักจะบิดเข้าใน ส้นเท้าไม่ถึงพื้น การเดินมักใช้หลังเท้าทางด้านนอกเป็นส่วนสัมผัสพื้น ซึ่งบางรายอาจเป็นในระยะแรกและหายได้เอง หรือบางรายก้เป็นไปตลอดซึ่งแพทย์จะพิจารณาการรักษาตามขั้นตอนค่ะ ส่วนสาเหตุยังไม่แน่ขัด แต่โรคเท้าปุกจะมี 2 แบบคือ เท้าปุกแท้ และเท้าปุกเทียมค่ะ เท้าปุกเทียม คือ ไม่มีความผิดปกติที่แท้จริงกับโครงสร้างเท้า แต่รูปเท้าบิดเกิดจากเด็กขดตัวแน่นอยู่ในครรภ์ เท้าถูกกดอยู่ในท่าบิดเข้าด้านในเป็นเวลานาน อาจทำให้เอ็นเท้าด้านในตึง ในขณะที่เอ็นเท้าด้านนอกหย่อน เท้าปุกชนิดนี้พบได้บ่อย การรักษา การดัดหรือกระตุ้นให้เส้นเอ็นมีการปรับความตึงให้สมดุล สามารถทำให้ เท้ามีการเคลื่อนไหวเป็นปกติได้ หรืออาจทำการดัดเท้าและใส่เฝือกยาวตั้งแต่ปลายเท้าถึงต้นขา ประมาณ 2 – 3 ครั้ง จนเท้าอยู่ในรูปร่างปกติ มักจะหายภายในสามเดือน เท้าปุกแท้ คือ เท้าแข็ง ถ้าไม่ได้รับการรักษา เท้าจะบิดแข็ง มากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดเมื่อเด็กโตขึ้นจะใช้หลังเท้าเป็นจุดรับน้ำหนักเวลาเดิน ซึ่งทำให้เดินลำบาก ทรงตัวยาก เจ็บปวดได้บ่อย ใส่รองเท้าทั่วไปไม่ได้ การรักษา หากได้รับการรักษาตั้งแต่เป็นทารก ผลการรักษามักอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถ ทำให้เดินได้เหมือนเด็กปกติ โดยแพทย์จะทำการดัดเท้าและใส่เฝือกยาวตั้งแต่ปลายเท้าถึงต้นขาตั้งแต่ในช่วง 1 - 2 สัปดาห์แรก รูปร่างของเท้าจะค่อยๆ ดีขึ้นจน เกือบปกติ แต่ข้อเท้ามักจะยังกระดกขึ้นได้ไม่สุดเหมือนปกติ แพทย์จะทำการตัดเอ็นร้อยหวาย และใส่เฝือกยาวต่ออีก 3 สัปดาห์ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับความแข็งของเท ซึ่งวิธีแยก ลักษณะเท้าปุกเทียมและเท้าปุกแท้ออกจากกันตามตารางนี้ค่ะ ขอบคุณที่มาจาก : http://www.thairath.co.th/content/285811
Đọc thêmPromo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-10053)
ikut meramaikan