หากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคเบาหวานควบคุมอาหารอย่างไร
เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณแม่และทารกในครรภ์ ซึ่งในระหว่างการรักษาแพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ คุณแม่จะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ต้องควบคุมอาหารให้ถูกสัดส่วนและถูกเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยประเภทนี้ มิฉะนั้นการรักษาจะไม่ได้ผล ถ้าคุณแม่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีพอ อัตราการเสียชีวิตของลูกก็จะสูงขึ้นและอันตรายที่จะเกิดกับคุณแม่ก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยการรับประทานอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานก็จะเหมือนกับอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์ปกติทั่วไปครับ คือ รับประทานอาหาร 3 มื้อ และอาจมีอาหารว่างอีก 2 มื้อ แต่ที่สำคัญก็คือปริมาณของอาหารในแต่ละวันจะต้องควบคุมให้ได้อย่างเหมาะสม โดยการลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต (แป้งหรือน้ำตาล) และเปลี่ยนมารับประทานข้าวซ้อมมือหรือขนมปังที่ทำจากแป้งที่ไม่ได้ขัดสี เพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน (เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เลือกเป็นเนื้อล้วน ไม่ติดหนัง) และผักให้หลากหลายมากขึ้น (โดยเฉพาะผักจำพวกที่มีใยอาหารและวิตามินมาก ส่วนพวกผักหัวและถั่วต่าง ๆ จะมีสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และพลังงานมากกว่าผักจำพวกใบ) ส่วนผลไม้ให้เลือกรับประทานผลไม้สดแทนน้ำผลไม้ (เพื่อให้ร่างกายได้ใยอาหาร) สำหรับนมนั้นควรรับประทานนมสดชนิดจืดและพร่องมันเนย (เพราะให้โปรตีนสูงและแคลเซียมสูง) และควรหลีกเลี่ยงของหวาน ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่มีเกลือสูง และอาหารที่มีไขมันสูง อย่างอาหารทอดหรืออาหารผัดที่ใช้น้ำมันมาก ๆ (ควรหันมาใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารแทน เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน) ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายมีความสำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน เพราะจะช่วยลดภาวะดื้อต่อยาอินซูลิน ทำให้ความต้องการยาอินซูลินมีน้อยลง คุณแม่จึงจำเป็นต้องออกกำลังกาย ถ้าไม่มีข้อห้ามต่าง ๆ เช่น เป็นความดันโลหิตสูง ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งบุตร (ชนิดของการออกกำลังกายไม่ควรเป็นไปเพื่อการลดน้ำหนัก ส่วนการออกกำลังกายที่แนะนำ คือ การเดินหรือการวิ่งเหยาะ ๆ, การว่ายน้ำ, เต้นรำ, หรือการออกกำลังกายร่างกายส่วนบน ให้ได้วันละ 30 นาที แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ที่ดูแลรักษาด้วยครับ) ต้องมารับการตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด ในระหว่างการฝากครรภ์ แพทย์อาจนัดมาตรวจครรภ์บ่อยกว่าปกติเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลเพื่อแพทย์จะได้ประเมินและปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสมต่อไป ยาที่ใช้รักษาเบาหวานจะต้องใช้แบบชนิดฉีด ในบางรายจะต้องฉีดวันละหลายครั้ง ในกรณีที่มีความผิดปกติ เช่น คุณแม่มีอาการอ่อนเพลีย, น้ำหนักตัวขึ้นมากจนเกินไป, ท้องไม่โตขึ้น, ลูกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้น, มีอาการของครรภ์เป็นพิษ, มีความผิดปกติอื่น ๆ (เช่น เบาหวานขึ้นตา) ให้รีบไปพบแพทย์ก่อนถึงเวลานัดทันที Cr. medthai.com
Đọc thêmPromo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-35844)