สวัสดีค่ะแม่ๆทุกท่าน...ตอนนี้นู๋ณิชาอายุขวบ9เดือนแล้วค่ะ อารมณ์น้องตอนนี้ชอบเอาแต่ใจมาก ไม่พอใจก็นอนกลิ้งลงกับพื้น ..คุณแม่ต้องเดินนี้ทุกครั้งแล้วค่อยกับมาหาหนูใหม่ คุณแม่อยากขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีรับมือเด็กวัยนี้หน่อยค่ะ
ประสบการณ์ส่วนตัวก็เคยเจอแบบนี้มานะคะ แรกๆ ก็นิ่งเฉยค่ะ เวลาลูกทำตัวไม่น่ารัก เพราะไม่อยากอยู่ใกล้กลัวอารมณ์ร้อนอีก เลยปรึกษาคุณหมอดูค่ะ คุณหมอบอกว่า อันดับแรกต้องไม่เดินหนีค่ะ เพราะจุดที่ลูกนอนกลิ้ง หรือทิ้งตัวอาจอันตรายมากอย่างคาดไม่ถึง เค้าอาจรู้ หรือไม่รู้ว่า สิ่งทีเค้ากำลังเรียกร้องจากแม่นั้นอันตรายมากน้อยแค่ไหน แต่คนเป็นแม่อย่างเรารู้ว่าอันตรายต้องเข้าไปชาร์ตตัวเค้าไว้ค่ะ การกอด ถือเป็นการปราบเด็กดื้อได้ดีในระดับนึง แรกๆ ที่ลูกชายเอาหัวโขกผนังก็ตกใจค่ะ แต่นึกมีสติที่หมอเคยบอก ไม่ตกใจ ไม่ร้องเสียงดัง เพราะถ้าพ่อแม่ตกใจ เค้ายิ่งรู้ว่า เราแคร์ เราเห็นว่าเค้าเรียกร้อง เค้าก็จะได้ใจ และทำเรื่อยๆค่ะ เวลาลูกชายลงไปดิ้น หรือเอาหัวโขกผนัง ก็เดินไปอุ้มเค้าขึ้นมาเดินออกจากสถานที่นั้น อยู่กันเงียบๆสองคนแม่ลูก กอดไว้สักพัก เค้าจะร้องไห้ โวยวาย หรือตีเราก็กอดไว้ก่อนค่ะ สักพักพอเค้าสงบ จะมาซบ ร้องไห้ พอลูกสงบค่อยบอก และสอนค่ะ ว่า สิ่งที่หนูทำมันอันตราย มันเจ็บนะลูก อย่าอธิบายยืดยาวนะคะ เด็กวัยนี้จะไม่เข้าใจอะไรที่ยากๆ ค่ะ อธิบายคำสั้นๆ เข้าใจง่าย ทำหน้าตาจริงจัง น้ำเสียงหนักแน่นมั่นคง ให้ลูกสัมผัสได้เลยค่ะว่า แม่เอาจริงกับเรื่องทำร้ายตัวเอง หรือเรื่องเอาแต่ใจ พอค่อยๆพูด เวลาเค้าสบตาเรา คุณแม่จะเห็นได้ว่า แววตาเค้าอ่อนโยนลงค่ะ ค่อยสอน ค่อยๆบอกเค้าค่ะว่า สิ่งที่ทำแม่เสียใจ ถ้าหนูอยากได้อะไรแล้วบอกแม่ดีๆ จะน่ารักมากๆเลย เราเป็นเพื่อนกันนี่นา มีอะไรคราวหน้ามาบอกแม่ดีๆ นะ แม่สัญญาว่าจะฟังหนู ( คราวหน้าถ้าเค้ายอมพูดดีๆ แม่ก็ต้องฟังเค้านะคะ) พอพูดจบ ก็ให้จบทีเดียวนะคะ เจอใครในบ้านไม่ต้องเล่า ต่อหน้า ให้เค้าได้ยินค่ะ สำคัญที่สุด พ่อแม่ ย่ายาย ทุกคนในบ้านต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันนะคะ ไม่ใช่ย่า ยาย โผมาโอ๋ อยากได้อะไรลูก เอาให้หมด แบบนี้แย่เลยนะคะ ปรับวินัยไม่ได้สักทีค่ะ คุณแม่ลองประมวลดูก็ได้ค่ะว่า ส่ิงที่เค้าเรียกร้องความสนใจจากเราเพราะอะไร ส่วนตัวคิดว่าสิ่งที่เค้าเอาแต่ใจ มีผลจากเราด้วยเหมือนกันไม่มากก็น้อยค่ะ ส่วนตัวแล้วก็ไม่ค่อยมีเวลาเยอะเท่าไหร่ค่ะ ทำงานไปด้วยเลี้ยงลูกไปด้วย เอาใจช่วยนะคะ สักวันคุณแม่จะผ่านจุดนี้ไปได้ค่ะ มันคือบททดสอบที่ไม่ยากจนเกินไปค่ะ เชื่อว่าแม่ทุกคนทำเพื่อลูกได้เสมอ เป็นกำลังใจให้นะคะ
Đọc thêmลูกเอาแต่ใจเป็นอะไรที่คุณแม่ต้องเหนื่อยอีกเปราะหนึ่งแน่นอน ยิ่งเด็กตัวเล็ก ๆ จะมีอารมณ์มากเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่ยังไม่รู้วิธีจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้และไม่ทราบวิธีที่จะแสดงออกมาอย่างเหมาะสม คุณแม่ควรสังเกตว่าสถานการณ์หรือสิ่งที่กระตุ้นใดทำให้เกิดอาการก้าวร้าวในตัวลูกได้ เช่น บางทีลูกแพ้อาหารหรือแค่อ่อนไหวต่ออาหารชนิดนั้น เช่น น้ำตาล หรือกลิ่นรสสังเคราะห์ แต่ในบางกรณีก็อาจมีบางสิ่งกระตุ้นให้ลูกคุณแสดงอาการก้าวร้าวได้ วิธีที่คุณแม่จะสอนลูกให้จัดการกับความโกรธได้ • คุณแม่ต้องเป็นตัวอย่างพฤติกรรมด้านบวก เมื่อมีบางสิ่งทำให้คุณโกรธหรือทำให้คุณไม่พอใจ คุณควรจัดการกับความโกรธหรือความไม่พอใจของคุณอย่างใจเย็น โดยไม่แสดงอาการโกรธให้ลูกเห็น • ให้ทางเลือกกับลูกน้อยของคุณในการแสดงออกถึงความโกรธ ถามลูกน้อยว่า “ลูกโกรธเหรอ?” จากนั้น สอนให้ลูกรู้จักปลดปล่อยอารมณ์โกรธอย่างถูกต้อง เช่น 1) พาลูกออกไปเล่น 2) เปิดเพลงและชวนลูกร้องเพลงให้ออกมาดัง ๆ เท่าที่ลูกจะทำได้โดยร้องไปด้วยกันกับคุณ 3) ให้ลูกได้แช่น้ำอุ่น ๆ ในอ่างอาบน้ำพร้อมกับให้ของเล่น เป็นกำลังใจให้นะคะ ข้อมูลจาก http://th.theasianparent.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81/
Đọc thêmลองใช้ปฏิสัมพันธ์กับลูกเชิงบวกดูค่ะ เวลาที่เด็กเอาแต่ใจนั่นคือเค้าต้องการการตอบสนองทางอารมณ์เค้าทันที หากไท่ได้ก้จะแสดงปฏิกิริยาเชิงลบต่างๆออกมาเช่นร้องไห้เสียงดัง ลงไปนอนชักดิ้นชักงอ ถ้าปล่อยไว้นานโดยที่เราไม่มีคำอธิบายใดๆแก่ลูก ก้จะมองว่าเป็นเรื่องปกติ จึงทำบ่อยแม้จะไม่ได้รับการตอบสนองก้ตาม ดังนั้นลองเปลี่ยนจากการเดินหนี ให้มองลูกด้วยสายตานิ่งๆ สีหน้าเรียบเฉย หากเป็นมากให้อุ้มออกมาจากที่ตรงนั้นก่อน และกอดลูกไว้ จะได้มีความรู้สึกดี เมื่อเงียบสงบแล้วค่อยพูดคุยสอบถามด้วยน้ำเสียงปกติ ไม่ใช่อารมณ์โกรธ หรือประชดประชัน เริ่มจากถามว่าตอนนี้ลูกรู้สึกยังไงบ้าง? ดีขึ้นรึยัง? เมื่อกี้หนูต้องการอะไรไหนบอกแม่ซิ? ฟังลูกเล่าระบายออกมา ถ้าพูดไม่เก่งก้ต้องใช้คำถามชีนำก่อน จากนั้นค่อยอธิบายสั่งสอนถึงเหตุผลที่เราไม่สามารถตอบสนองได้ทันที และกำชับว่า ครั้งหน้าหากโกรธไม่พอใจอะไร ไม่ควรทำแบบนี้ ไม่มีใครชอบให้หนูทำ การลงไปนอนแบบนั้นหากไม่มีใครระวังหนูอาจโดนเหยียบได้รับอันตรายด้วย ค่อยๆฝึกค่อยอธิบายไปค่ะ เพราะหากเดินหนีทุกครั้งแต่ไม่มีการพูดคุยอธิบายกันดีๆ ลูกจะไม่เข้าใจและยังทำพฤติกรรมเช่นนี้ต่อไปค่ะ
Đọc thêmส่วนตัวใช้วิธีนั่งอยู่ข้างๆลูกที่ลงไปนอนค่ะ แล้วพูดด้วยน้ำเสียงไม่โมโหค่ะ ว่าถึงลูกจะทำแบบนี้แม่ก็จะไม่ตามใจค่ะ ถ้าอยากนอนตรงนี้ก็นอนไป เดี๋ยวแม่จะนั่งเป็นเพื่อน แต่ถึงจะนอนอยู่ทั้งวันลูกก็จะไม่ได้สิ่งที่ลูกต้องการอยู่ดีค่ะ เพราะที่แม่ไม่ให้แม่มีเหตุผลค่ะ ถ้าลูกพร้อมจะฟังเหตุผลแล้วเราค่อยมาคุยกันค่ะ โดยทั่วไปเด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผลที่ซับซ้อนมากค่ะ เค้าเข้าใจแต่ว่าเค้าอยากได้ คุณแม่อาจจะต้องหาเหตุผลง่ายๆให้เค้าเข้าใจค่ะ
Đọc thêmPromo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-11248)