สาเหตุของการแท้งคุกคาม
คุณแม่มีอายุมาก โดยพบว่าคุณแม่ที่มีอายุมากจะมีโอกาสเกิดภาวะแท้งคุกคามมากกว่าคุณแม่ที่มีอายุน้อย (คือถ้าอายุเกิน 35 ปี จะมีโอกาสแท้ง 15% แต่ถ้าอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสแท้งมากกว่า 30%)
คุณพ่อมีอายุมากเกินไป
คุณแม่มีประวัติเคยแท้งเองมาก่อน พบว่าผู้ที่เคยแท้งมาแล้วหนึ่งครั้งจะเกิดความเสี่ยงในการแท้งในครั้งต่อไปประมาณ 20% และจะเพิ่มเป็น 28% และ 43% หากมีประวัติการแท้งมาแล้วสองและสามครั้งตามลำดับ
การได้รับอุบัติเหตุในขณะตั้งครรภ์ที่บริเวณท้องน้อย ทำให้การฝังตัวของทารกที่ผนังมดลูกไม่ดีพอ แต่ก็ไม่รุนแรงถึงกับทำให้หลุดออกมาแบบการแท้ง
ความผิดปกติของทารกในครรภ์ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อน (เป็นกรณีที่พบได้มากที่สุด คือประมาณ 50% ของตัวอ่อนที่แท้งทั้งหมด) หรือเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างตัวอ่อนแต่กำเนิด (ทั้งที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมของตัวอ่อนเองหรือเกิดจากปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่น การได้รับสาร teratogens จากยาหรือสารเคมี)
ความผิดรูปร่างหรือความผิดปกติของมดลูก โพรงมดลูก ปากมดลูก เช่น คุณแม่มีมดลูกผิดปกติแต่กำเนิด คุณแม่มีเนื้องอกหรือพังผืดในมดลูก จึงทำให้การฝังตัวของรกไม่เป็นปกติ
ผลจากการขูดมดลูก (Asherman syndrome)
คุณแม่มีการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในช่องคลอด หัดเยอรมัน ซีเอ็มวีไวรัส เป็นต้น
Jirapat Palachai