มนุษย์แม่ที่มีนมแม่ได้นั้นเป็นเรื่อง "ปกติ"
แต่มนุษย์แม่ที่สามารถให้นมแม่ได้ตลอดรอดฝั่งนั้น
คือ #ผู้มีความตั้งใจและวินัย
--------
"ตอนนี้ลูกกินยังไงอยู่ครับ" พ่อหมอถามคุณแม่ท่านหนึ่งที่พาลูกมาตรวจตามกำหนดตอนอายุ 1 เดือน ... คุณแม่ตอบว่า "นมผงค่ะ" ... พ่อหมอจึงถามกลับไปว่า "มีปัญหาการให้นมแม่เหรอครับ คุณแม่ เล่าให้ฟังหน่อยเกิดอะไรขึ้นเหรอครับ" ... "นมแม่ไม่มีแล้วค่ะ" คุณแม่ตอบ ... "แล้วคุณแม่ให้นมแม่ยังไงเหรอครับ ปั๊มบ้างมั้ย เข้าเต้ามีปัญหาอะไรหรือเปล่า" พ่อหมอถาม
"ก็พยายามเต็มที่แล้วนะคะ ตอนอยู่ รพ. ก็พยายามเอาเข้าเต้า คุณพยาบาลก็เอาเครื่องปั๊มมาปั๊ม ๆ ให้ ... วันที่ 3 ก่อนกลับบ้านก็ไม่เห็นมีน้ำนม ออกมาแค่ซึม ๆ ก็เลยให้นมผงไปค่ะ พยายามเต็มที่แล้ว มันก็ไม่มีค่ะ" คุณแม่เล่า ... "แล้วกลับบ้านไป ลูกเข้าเต้าเก่งไหมครับ" พ่อหมอถาม ... "ไม่ค่ะ ไม่ได้เอาเข้าเต้า ก็มันไม่มีน้ำนมนี่คะ พยายามแล้ว ก็กินนมผงไป" ... "แล้วแม่ได้ปั๊มบ้างไหมครับ" ... "ไม่ได้ปั๊มค่ะ" ...
แล้วเสียงแอร์ในห้องตรวจก็ดัง "ฟู่ๆ" ขึ้นมาสักหลายวินาที ... ก่อนบทสนทนาเรื่องอื่นจะดำเนินต่อไป
---------
สำหรับคุณแม่มือใหม่ และคุณแม่ที่กำลังใกล้คลอดที่อยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พ่อหมอให้ข้อมูลแบบนี้นะจ๊ะ
ร่างกายของมนุษย์เพศหญิงจะเริ่มสร้างน้ำนมได้ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งท้อง โดยน้ำนมนั้นเรียกว่า #น้ำนมเหลือง หรือโคลอสตรัม และจะผลิตต่อในช่วง 1-3 วันแรกจนเริ่มเปลี่ยนผ่านจากโคลอสตรัมไปเป็น "นมส่วนเปลี่ยนผ่าน" (Transitional Milk) จนเป็น "นมแม่" (Mature Milk) จริง ๆ ในช่วงหลังสัปดาห์ที่ 1-2 ไปแล้ว
กรุงโรมไม่สร้างเสร็จใน 7 วัน
นมแม่ก็ไม่ได้สร้างเสร็จใน 7 วันเช่นกัน
#นมแม่ต้องใช้เวลา
สิ่งสำคัญคือ #การกระตุ้นการสร้างน้ำนม ด้วยสิ่งที่เราเรียกว่า 3 ด. #ดูดเร็ว #ดูดถูก #ดูดสม่ำเสมอ ... สม่ำเสมอในที่นี้คือ สม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่ให้นมแม่ เพราะเมื่อไม่สม่ำเสมอ น้ำนมจะผลิตลดลงตามหลักอุปสงค์-อุปทาน แต่ก็ไม่ได้ต้องทุก 3 ชั่วโมงตลอดไปเนอะ พอน้ำนมผลิตได้ดีแล้ว ลูกดูดดีและเก่งแล้ว สายพานการผลิตไปได้ดีแล้ว ลูกก็จะเริ่มกินห่างขึ้นแต่ดูดทีละเยอะขึ้น นมแม่ก็ยังคงการผลิตไว้ได้นั่นเอง
ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะไปได้ก็ต่อเมื่อ คุณแม่มีความตั้งใจและวินัยในการให้นมแม่ครับ
แต่เชื่อเถอะว่า ความเหน็ดเหนื่อยนี้ #หมอวินเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ
เพราะลูกจะได้รัสารอาหารที่ดี ภูมิคุ้มกันที่ดี
และสุขภาพที่ดีต่อทั้งร่างกายและสมองครับ
แต่เราก็เหน็ดเหนื่อยแบบพองามได้ด้วย การเข้าเต้า และการเข้าเต้าท่านอน ... ปุ๊บปั๊บรับเต้า ... แล้วแม่ก็สลบไป 555 ที่สำคัญไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกมานั่งปั๊มให้มีความหลอนและผวาเล็ก ๆ ครับ เพราะลูกจะเป็นคนปลุกเราเองตามธรรมชาติ และมันจะห่างขึ้น ๆ เมื่อเขาโตขึ้น เราก็จะเหนื่อยน้อยลงจากช่วงแรกครับ ... แต่เอาจริง ๆ ให้นมผงก็เหนื่อยนะ ... ทั้งต้องต้มน้ำ ชงนม ล้างขวด และก็ต้องตื่นมาชงนมให้ลูกตามเวลาเหมือนกัน เพิ่มเติมคือ ค่านมผงที่ไม่ค่อยอ่อนโยนกับกระเป๋าเงินเท่าไรครับ
กินนมแม่ดีกว่า ราคาย่อมเยา
แพคเกจจิ้งสวยงาม ทรงนิยม
ดีต่อใจ ดีต่อลูก ดีต่อเงินในกระเป๋า
และบางบ้านแบ่งกันกินทั้งครอบครัว
แฮปปี้
3 วันไม่พอ ต้องขอ 1 เดือน มีปัญหาเรื่องหัวนม-ลานนม-การเข้าเต้า-การปั๊ม หรือเรื่องแม่ลูกอะไรก็แล้วแต่ในช่วงเดือนแรกให้ #ดูแลแก้ไข ให้เต็มที่ แล้วถ้ามันไม่มาจริง ๆ จะถอดใจหรือบอกได้ว่า "ไม่มีนมแม่" ก็ว่ากันไปครับ
แต่เมื่อผ่าน 1 เดือนแรกแล้ว ... #หัวนมเทิร์นโปรแล้ว อะไร ๆ มันก็จะง่ายขึ้นครับ เหนื่อยลดลง ง่วงลดลง ความต้องพยายามลดลง มันจะกลายเป็น #ความชิน และ #ความชำนาญ ครับ และในที่สุดจะ 6 เดือน จะ 1 ปี มันจะผ่านไปแบบงง ๆ เลยทีเดียว ...
พ่อหมอไม่ได้มองว่า การที่ให้นมแม่ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิด เป็นแม่ที่ไม่ดี หรือเป็นการขีดเส้นแบ่งแยกนมแม่-นมผงอะไรแบบนั้นครับ เพราะยังมีเรื่องราวอีกหลายร้อยอย่างนอกเหนือจาก 'นมแม่' ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลี้ยงเขาด้วยความรัก ให้โอกาสทางการศึกษา ให้สังคม ให้อาหาร และอีกมากมายเพื่อให้เขาเติบโตแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี และเติบโตเป็นคนดีมีความสามารถในอนาคตได้ แต่ก็อยากให้ได้ให้นมแม่กันครับ เพราะมันคือเรื่องราวดี ๆ ที่เราหยิบยื่นให้ลูกได้ตั้งแต่วันที่เขาลืมตาขึ้นมาดูโลกนั่นเอง
#หมอวินเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ
Manee Chalothorn