5 Các câu trả lời
อาการท้องแข็ง เกิดจากสาเหตุใด ? อาการท้องแข็งในระหว่างตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ทารกในครรภ์ดิ้นแรง ๆ อาจจะชนเข้ากับผนังมดลูก จนทำให้มดลูกเกิดการบีบตัว มดลูกเกิดการบีบรัดตัวขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีสม่ำเสมอและต่อเนื่องอาจเกิดการคลอดก่อนกำหนดขึ้นได้ เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารหรืออาหารไม่ย่อย ก็ทำให้เกิดท้องแข็งขึ้นมาได้ แน่นอึดอัดท้องเนื่องจากรับประทานอาหารมากเกินไป ขนาดทารกที่ใหญ่ขึ้นรวมกับอาหารที่เต็มกระเพาะของคุณแม่ จนไปเบียดมดลูก เป็นผลให้มดลูกถูกกระตุ้นให้บีบรัดตัวขึ้นมา ก็ส่งผลให้เกิดอาการท้องแข็งขึ้นมาได้เช่นกัน ในช่วงไตรมาสที่สามขนาดครรภ์จะขยายใหญ่ขึ้นมากตามขนาดตัวของทารกในครรภ์ ซึ่งมดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะกดเบียดกับกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย แต่บางคนกลั้นปัสสาวะเพราะไม่สะดวกเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ซึ่งการกลั้นปัสสาวะ ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องแข็งขึ้นมาได้เช่นกันค่ะ การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ หากร่วมรักไม่ถูกท่าถูกจังหวะ สามารถส่งผลให้มดลูกเกิดการบีบตัวขึ้นมาได้โดยเฉพาะในช่วงถึงจุดสุดยอด
ลักษณะอาการท้องแข็งแบบไหนที่เป็นอันตราย อาการท้องแข็งลวง (เจ็บครรภ์เตือน) มักมีสาเหตุเกิดจากการดิ้น และการโก่งตัวของทารก ซึ่งหากสังเกตดูลักษณะหน้าท้องจะตึงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง (เช่น หน้าท้องแข็งตึงตรงด้านซ้ายหรือด้านขวา, หน้าท้องแข็งตึงด้านบนหรือด้านล่าง) แต่จะไม่แข็งตึงทั่วทั้งท้อง ส่วนใหญ่อาการท้องแข็งลักษณะนี้ มักเกิดขึ้นเพราะลูกดิ้นขยับตัว หรือโก่งตัว อาการท้องแข็งผิดปกติ (เจ็บครรภ์จริง) มีสาเหตุมาจากการบีบหดรัดตัวของมดลูกซึ่งหากสังเกตดูลักษณะหน้าท้องที่นิ่มๆ จะแข็งขึ้นมาทั่วทั้งท้องจนรู้สึกเจ็บ และจะแข็งนานประมาณ 10 นาที/ครั้ง ติดต่อกัน 4-5 ครั้ง อาการท้องแข็งลักษณะนี้หากเกิดขึ้นถี่ๆ อาจทำให้ปากมดลูกเปิด และทำให้คลอดก่อนกำหนดตามมาได้ ทั้งนี้หากพบว่าตัวเองมีอาการท้องแข็งแบบนี้บ่อย ๆ ให้รีบไปพบสูติแพทย์โดยเร็ว
การดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องแข็ง ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ หากปวดปัสสาวะให้เข้าห้องน้ำทันที เพราะการกลั้นปัสสาวะนาน ๆ ก็เป็นเหตุให้เกิดท้องแข็งขึ้นมาได้ ไม่ควรรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้อิ่มจนเกินไป เพราะอาหารที่มากไป ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ รวมทั้งอาหารไม่ย่อย อย่าลืมว่าช่วงตั้งครรภ์ระบบการย่อยอาหารจะทำงานได้ไม่ดีเท่าช่วงก่อนตั้งครรภ์ ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย เพราะบางท่าของการร่วมรักอาจไปกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวขึ้นมาได้ ไม่ควรลูบท้องบ่อย ๆ หรือสัมผัสกับอวัยวะที่ไวต่อการกระตุ้นให้มดลูกบีบตัว เช่น บริเวณหน้าอก เต้านม เป็นต้น
ลักษณะของอาการท้องแข็ง ท้องแข็ง เป็นอาการที่พบในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย (อายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ขึ้นไป) ซึ่งเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก เมื่อคุณแม่เอามือวางบริเวณหน้าท้อง จะสัมผัสและรู้สึกได้ว่าเป็นก้อน ๆ ขึ้นมา หรือรู้สึกตึงมากที่หน้าท้องเป็นครั้งคราวในช่วงเวลาสั้น ๆ เป็นวินาที และมีช่วงพักเป็นนาทีเมื่อมดลูกคลายตัว บางรายอาจจะมีอาการท้องแข็งอยู่ประมาณทุก 10 นาที/ครั้ง และเป็นสม่ำเสมออยู่ 4-5 ครั้งได้ กรณีที่ท้องแข็งแล้วมีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมด้วย ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงช่วงอายุการตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ซึ่งอาการท้องแข็งอาจไม่มีอะไร แต่บางครั้งอาจเป็นสัญญาณการคลอดก่อนกำหนด หรืออันตรายอื่น ๆ ที่คนท้องต้องใส่ใจ