ภาวะน้ำคร่ำมากมีผลต่อมารดาและทารกอย่างไร? ความรุนแรงของภาวะน้ำคร่ำมากแบ่งออกได้เป็น ภาวะน้ำคร่ำมากแบบเล็กน้อย ภาวะน้ำคร่ำมากปานกลาง ภาวะน้ำคร่ำมากอย่างรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อมารดาและทารกแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของปริมาณผิดปกติของน้ำคร่ำ ก. ผลต่อมารดา ที่พบได้ คือ ทำให้เกิดความอึดอัด ไม่สบายท้อง หายใจไม่สะดวก ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด เนื่องจากมีการขยายตัวของมดลูกมากเกินไป รกลอกตัวก่อนทารกคลอด (รกลอกตัวก่อนกำหนด) เนื่องจากเมื่อมีการแตกของถุงน้ำ คร่ำ ทำให้ขนาดมดลูกหดรัดตัวลงอย่างรวดเร็ว เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด (การคลอดก่อนกำหนด) เนื่องจากมีการขยายตัวของมดลูกมากเกินไป ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงที่ เนื่องจากมีปริมาณน้ำคร่ำมาก ทารกจึงหมุนเปลี่ยนท่าไปมาได้ง่าย มีโอกาสได้รับการทำสูติศาสตร์หัตถการ เช่น การผ่าท้องคลอดฉุกเฉิน เพื่อช่วยชีวิตทา รกในครรภ์ ตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ข. ผลต่อทารก ที่พบได้ คือ ทารกคลอดก่อนกำหนด มีโอกาสได้รับการทำสูติศาสตร์หัตถการ เช่น การผ่าท้องคลอดฉุกเฉิน หรือทำคลอดท่าก้น