11 Các câu trả lời

ขวดนม อุปกรณ์ปั๊มนม ต้องต้ม หรือนึ่ง ให้ปราศจากเชื้อทุกวัน ??? การนึ่ง หรือต้มฆ่าเชื้อขวดนมและจุกนมหลังใช้งานทุกวัน จะทำให้ขวดนมพลาสติก และจุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และ ไม่ได้ช่วยป้องกันโรคให้ทารกเพิ่มขึ้นมากไปกว่าล้างด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ หรือ ล้างด้วยน้ำร้อนผสมน้ำยาล้างขวดนมหลังใช้งาน การขยันทำให้ปลอดเชื้อมากเกินไป (over-sterilize) ไม่มีประโยชน์ กลับเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เชื้อที่ทนความร้อน และสร้างสปอร์ได้เพิ่มมากขึ้น (เพราะคุณไม่ได้ใช้หม้อความดัน หรือฉายรังสี) และทารกจะอาจได้สารพวกโพลีเมอร์ หรือฟอร์มัลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาจากพลาสติกที่เสื่อมสภาพแทน สมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน และ USFDA แนะนำให้ต้ม หรือนึ่งฆ่าเชื้อขวดนม และอุปกรณ์ปั๊มนมเฉพาะครั้งแรกที่ใช้งาน จากนั้นให้ล้างด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างขวดนมผสมน้ำอุ่น ทุกครั้งหลังใช้งานก่อนผึ่งให้แห้ง โดยไม่ให้ใช้ผ้าเช็ด  กรณีที่ต้องต้ม หรือนึ่งฆ่าเชื้อทุกวัน คือช่วงทารกป่วย เช่น ท้องร่วง หรือ เป็นฝ้าขาวในปาก คุณแม่ที่กังวล อาจนึ่งหรือต้ม ทุก 3-4 วัน สำหรับนมชง ทุก 1 สัปดาห์สำหรับนมแม่ ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการปล่อยให้นมบูดคาขวด (ถ้านมบูดคาขวด ต้องต้มหฤานึ่งฆ่าเชื้อใหม่เสมอ) อย่างไรก็ตาม ไม่มีกฎตายตัว หากบ้านมีสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด อยู่ใกล้แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค อาจพิจารณาต้ม หรือนึ่งให้บ่อยขึ้น สำหรับประเทศไทยที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น มีโรคเขตร้อนที่เป็นโรคทางเดินอาหารมาก และประชากรมีสุขอนามัยไม่แน่นอน กุมารแพทย์ไทยหลายท่านอาจแนะนำให้คุณแม่ต้มหรือนึ่งขวดนมทุกวัน และกรณีที่ห้องครัวมีความสกปรก อับชื้น ท่อน้ำไม่สะอาด หรือมีกระบะทรายแมวในห้องครัว (ซึ่งไม่ควรมี) คุณแม่อาจเลี่ยงไปตากขวดนม และจุกนมที่อื่นที่มีอากาศถ่ายเท คุณแม่ที่ปั๊มนมห้ามใช้สบู่เหลวในห้องน้ำที่ทำงานล้างขวดนม หรือ ตากขวดนมในห้องส้วมเด็ดขาด หากไม่สะดวกล้างผึ่งลมในที่ทำงาน ให้ใส่อุปกรณ์ปั๊มนมลงถุงปิด หรือกล่องปิดฝา แล้วแช่ในตู้เย็นแทน คุณแม่ที่กังวลมาก หรือมีความจำเป็นที่จะต้องฆ่าเชื้อทุกวันจริง ๆ ก็ขอแนะนำให้ใช้ขวดนมแก้วแทนพลาสติกจะดีกว่า (หรือขยันเปลี่ยนขวดนมพลาสติกตามอายุการใช้งาน) หรือใช้ยาฆ่าเชื้อสำหรับแช่ขวดนมโดยเฉพาะผสมน้ำเย็น แช่ขวดนมแทนการต้มฆ่าเชื้อ ก็มีประสิทธิภาพสูง และถนอมพลาสติกได้ดี

ไม่เป็นไรคะ การลวกหรือนึ่งน้ำร้อน 1อาทิตย์ ควรทำแค่ 1-2 ครั้งคะ เพราะจะให้เคมีในขวด ละลาย หรือพลาสติกละลาย ทำให้เป็นอันตรายต่อลูกคะ แนะนำให้ล้างให้สะอาดแล้วนำมาตากแดดให้เสด็จน้ำพอคะ

ขวดนม อุปกรณ์ปั๊มนม ต้องต้ม หรือนึ่ง ให้ปราศจากเชื้อทุกวัน ??? การนึ่ง หรือต้มฆ่าเชื้อขวดนมและจุกนมหลังใช้งานทุกวัน จะทำให้ขวดนมพลาสติก และจุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และ ไม่ได้ช่วยป้องกันโรคให้ทารกเพิ่มขึ้นมากไปกว่าล้างด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ หรือ ล้างด้วยน้ำร้อนผสมน้ำยาล้างขวดนมหลังใช้งาน การขยันทำให้ปลอดเชื้อมากเกินไป (over-sterilize) ไม่มีประโยชน์ กลับเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เชื้อที่ทนความร้อน และสร้างสปอร์ได้เพิ่มมากขึ้น (เพราะคุณไม่ได้ใช้หม้อความดัน หรือฉายรังสี) และทารกจะอาจได้สารพวกโพลีเมอร์ หรือฟอร์มัลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาจากพลาสติกที่เสื่อมสภาพแทน สมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน และ USFDA แนะนำให้ต้ม หรือนึ่งฆ่าเชื้อขวดนม และอุปกรณ์ปั๊มนมเฉพาะครั้งแรกที่ใช้งาน จากนั้นให้ล้างด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างขวดนมผสมน้ำอุ่น ทุกครั้งหลังใช้งานก่อนผึ่งให้แห้ง โดยไม่ให้ใช้ผ้าเช็ด  กรณีที่ต้องต้ม หรือนึ่งฆ่าเชื้อทุกวัน คือช่วงทารกป่วย เช่น ท้องร่วง หรือ เป็นฝ้าขาวในปาก คุณแม่ที่กังวล อาจนึ่งหรือต้ม ทุก 3-4 วัน สำหรับนมชง ทุก 1 สัปดาห์สำหรับนมแม่ ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการปล่อยให้นมบูดคาขวด (ถ้านมบูดคาข

บ้านนี้ใช้วิธีล้างเสร็จแล้วตากแดดพอค่ะไม่ต้ไม่นึ่งเลยค่ะ น้องก็ไม่เคยท้องเสียเลย

หลังล้างทุกครั้ง ควรนึ่งหรือลวกน้ำร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรคค่ะ

บ้านนี้นึ่งตลอดค่ะไม่อยากเสี่ยงใช้ขวดใช้จุกพีเจ้นแท้ค่ะ

เคยพาลูกไปแอดมิทตอนได้1เดือนหมอถามใหญ่เลยว่านึ่งขวดหรือเปล่าตอนนั้นน้องท้องเสียบ้านนี้เลยใช้ขวดครั้งละรอบต้ม12นาทีนึ่ง40นาที

ต้องลวกหรือนึ่งขวดนมเพื่อฆ่าเชื้อโรคนะคะคุณแม่ ❤

VIP Member

ควรลวกน้ำอีกรอบค่ะแม่ เป็นการฆ่าเชื้อค่ะ

ควรนึ่งทุกครั้งฆ่าเชื้อก่อนใช้นะคะ

ต้องนึ่งทุกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อนะคะ

ควรนึ่งทุกครั้ง ฆ่าเชื้อโรค

Câu hỏi liên quan

Câu hỏi phổ biến

Những bài viết liên quan