5 Các câu trả lời
วัยของน้องช่วงนี้ เริ่มก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาที่ทดสอบจิตใจพ่อแม่ เรียกว่า Terrible Two เพราะเด็กวัยนี้จะเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง อยากทำอะไรด้วยตัว ชอบค้นหา ท้าทาย อยากรู้อยากลอง ซึ่งเป็นวัยที่เปลี่ยนจากเบบี้ที่น่ารัก กลายเป็นเด็กดื้อ จอมซนของหลายๆบ้าน ยิ่งดุยิ่งทำ ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ฉะนั้นสิ่งที่ทำได้คือการนิ่งสงบ แอบดูห่างๆ ว่าสิ่งที่ลูกทำจะอันตรายแค่ไหน ถ้าไม่อันตรายมากก้ปล่อยให้ทำ ให้เรียนรู้ถึงผลที่เกิดขึ้น จากนั้นค่อยอธิบายให้ฟัง และอาจมีการทำโทษบ้างแล้วแต่กรณีๆไป ส่วนการทำโทษก้ได้แก่ เพิกเฉยไม่คุยด้วย และจับไปเข้ามุม หรือนั่งเก้าอี้นิ่งๆ(Time out) เพราะเคยตีแล้วก้ไม่เป็นผลค่ะ ลูกคิดว่าเล่นด้วย แต่ใช้วิธีเพิกเฉย ไทม์เอาท์ จะได้ทบทวนสิ่งที่ตัวเองทำลงไป และธรรมชาติของเด็กอยากให้แม่สนใจ ไม่ชอบการเพิกเฉยค่ะ หากน้องไม่นิ่ง ชอบปีนป่าย ชอบวิ่ง ก้จัดสถานที่ในบ้านให้ปลอดภัย หรือพาไปที่เล่นที่ปลอดภัยเหมาะสมกับเด็กเล็ก ให้เล่นเต็มที่ ไม่ต้องห้าม ยิ่งห้ามยิ่งเสียอารมณ์ทั่งแม่ลูกค่ะ บางครั้งก้ต้องปล่อยให้เค้าเรียนรู้ถคงผลลัพธ์เอง จะได้จำได้นานและไม่ทำซ้ำค่ะ นี่เป็นเพียงแค่เบื้องต้นค่ะ เพราะวัยนี้มีบททดสอบพ่อแม่อีกมากมาย สามารถอ่านรายละเอียดพฤติกรรมของวัย Terrible Two วัยร้าย 2ขวบจากบทความนี้เพิ่มเติมได้ค่ะ http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9510000047132
การที่จะฝึกเด็กให้ฟังสิ่งที่เราพูดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายค่ะ คุณแม่ต้องใจแข็งพอสมควร ถ้าพูดไม่ก็คือไม่สมมุติว่าวันนี้เค้าปีนขึ้นไปบนโซฟาแล้วคุณแม่อนุญาต แต่พอมีแขกมาที่บ้าน คุณแม่บอกให้เค้าลงและไม่อนุญาตให้เค้าปีนขึ้นโซฟาอีก เด็กก็จะไม่เข้าใจค่ะว่าทำไมเดี๋ยวทำได้เดี๋ยวทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นคุณแม่จะต้องชัดเจน กับสิ่งที่ต้องการให้เขาปฏิบัติค่ะ และคุณแม่จะต้องมีบทลงโทษในกรณีที่พูดแล้วเค้าไม่ฟัง อย่างเช่นถ้าบอกว่าไม่แล้วเขายังคงทำอยู่ คุณแม่อาจจะต้องหยุดการกระทำของเค้า จับให้เขามานั่งฟังเหตุผลของคุณแม่ว่าทำไมถึงบอกให้หยุดและให้เค้ายืนคิดคนเดียวนิ่งๆไม่มีใครคุยกับเค้าและให้เค้าคิดว่าสิ่งที่เค้าทำอยู่นั้นถูกหรือไม่ค่ะ เด็กไม่สามารถทนได้กับความเงียบหรือการที่ผู้ใหญ่ไม่สนใจค่ะ เพราะฉะนั้นคุณแม่ต้องใจเย็นๆและใจแข็งกับสิ่งที่คุณแม่ต้องการให้เขาทำค่ะ
เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่คะ ถ้าอยู่ในบ้านก็จัดการตามสถานการ์เช่นถ้าบอกว่าให้ปีนแล้วปีน ก็จะจับลงมาแล้วบอกว่า ถ้าร่วงลงมาหัวจะแตกแขนจะหัก และจะเล่นแบบนี้ไม่ได้อีก และก็จะเจ็บตัว มี๊ก็ต้องเสียเงินพาไปหาหมออีกนะ เป็นต้น ถ้าเป็นข้างนอกอุ้มกลับบ้านเลยคะ เราจะบอกเหตุผลกับลูกว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าทำสิ่งนี้ ถ้าลูกดื้อเราจะจัดการทันที จะไม่ปล่อยแล้วค่อยกลับมาจัดการนะคะ ลองอ่านเพิ่มเติมใน asianparent คะ http://th.theasianparent.com/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94/
เป็นการฝึกให้คุณพ่อคุณแม่รู้เท่าทันอารมณ์ของทั้งตัวเราเอง และลูกด้วย การจะรับมือลูกวัยนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างคุณพ่อคุณแม่ มีการวางแผน แล้วแต่สถานการณ์ เพราะวัยนี้นอกจากจะต่อต้านแล้วจะยังมีความท้าทายพ่อแม่ อยู่ในตัวด้วย สิ่งสำคัญคือไม่ว่าจะตำหนิ หรือจะสอน คำพูดของคุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ใช้อารมณ์ และชัดเจน เป็นประโยคสั้นๆ ติดตามการจัดการกับอารมณ์ของลูกได้จากโรงพยาบาล BNH นะค่ะ แก้ปัญหาอารมณ์ให้ลูกวัยเตาะแตะ - โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Hospital https://www.bnhhospital.com › child_care
Promo terbesar expert care sudah dimulai, diskon hingga Rp.100.000 sedang berlangsung di shopee, ada juga voucher diskon 100% alias gratis bagi bunda yang beruntung. Buruan cek di https://shope.ee/9UfEMMqqTg (id-7515)