5 Các câu trả lời
รับมืออย่างไร กรดไหลย้อนในช่วงตั้งครรภ์ พญ.วิภากร เพิ่มพูล ให้คำแนะนำการรับมือกรดไหลย้อนในช่วงตั้งครรภ์ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณแม่เพื่อบรรเทาอาการกรดไหลย้อนในช่วงตั้งครรภ์ ดังนี้ 1. ทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง และทานอาหารตรงตามเวลาทุกมื้ออาหารอ่อน ย่อยง่ายและเคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกคำก่อนกลืน 2. อย่ารับประทานอาหารมากเกินไป หรือรับประทานอาหารมื้อดึก ที่รับประทานเสร็จแล้วนอนเลย ควรรับประทานอาหารแล้วเผื่อเวลาให้อาหารได้ย่อยก่อนอย่างต่ำ 4 ชั่วโมง 3. งดอาหารรสเผ็ด อาหารรสเปรี้ยวจัด ของดอง และน้ำอัดลมลดอาหารไขมันสูงซึ่งย่อยยาก แต่ให้ทานอาหารที่มีไขมันเล็กน้อยได้ เพราะไขมันจะช่วยยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร และยังช่วยนำพาวิตามินที่ละลายในไขมัน 4. หากมีการอาเจียน ควรดื่มน้ำกลั้วคอล้างปากทุกครั้งหลังอาเจียน 5. การสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาแก้โรคหอบหืดบางชนิด และยาที่เกี่ยวกับโรคหัวใจบางชนิด อาจทำให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลง ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ง่าย บทความแนะนำ แม่ท้องเป็นหอบหืดอันตรายถึงลูกในท้องหรือไม่ นอกจากนี้ คุณแววตา เอก-ชาวนา นักโภชนาการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้คำแนะนำในเรื่องของโภชนาการเพื่อลดอาการกรดไหลย้อน ดังนี้ ในช่วงไตรมาสสอง ระหว่างการตั้งครรภ์ 3-6 เดือน เป็นช่วงที่คนท้องมีความเสี่ยงในการเกิดอาการแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้น คุณแม่ต้องการอาหารโปรตีนสูงกว่าในช่วงไตรมาสแรก (1-3 เดือน) อาหารที่ควรรับประทาน คือ เมนูไขมันต่ำ โปรตีนสูงจากไก่และปลา และควรกินผักที่ให้ไฟเบอร์สูง เพื่อป้องกันท้องผูกด้วย ในช่วงตั้งครรภ์ 7-9 เดือน ควรรับประทานจำพวกเนื้อไก่, ไข่ไก่ เพิ่มขึ้นด้วย
โรคกรดไหลย้อนมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ อาการของโรคกรดไหลย้อนจะทำให้เกิดความไม่สบายตัวต่าง ๆ ตามอาการที่บอกข้างต้น แต่หากคุณแม่สามารถจะรับประทานอาหารได้ตามปกติ ก็จะไม่เกิดปัญหาใด ๆ ต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ แต่ถ้าหากในระยะยาวคุณแม่ยังเป็นโรคนี้อยู่ ก็อาจเกิดการอักเสบของหลอดอาหารเรื้อรังที่รุนแรงมากขึ้น การรักษา นพ.ธวัช มงคลพร อายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหารและตับ กล่าวถึงการรักษาโดยใช้ยาว่า ทานยาน้ำเพื่อป้องกันกรดไหลย้อน ที่ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร และรวมตัวกันเป็นชั้นเจลอัลจินิก แอซิด (Alginic Acid) ซึ่งมีค่า PH ใกล้เคียงธรรมชาติ ลอยตัวเป็นแพอยู่ชั้นบนของของเหลวในกระเพาะอาหารป้องกันกรดไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหารได้ ข้อดีของยา กลุ่มนี้คือ ยานี้ไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจึงทำให้ทั้งคุณแม่ปลอดภัยและไม่มีอันตรายต่อการเติบโตของคุณลูกในท้อง วิธีการที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เกิดกรดไหล โดยคุณแม่รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย และไม่มีไขมันมากจนเกินไป ไม่ควรรับประทานอาหารก่อนนอน หากมีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น ควรปรึกษาคุณหมอนะคะ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้นะคะ ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
กรดไหลย้อนช่วงตั้งครรภ์ กรดไหลย้อนในช่วงตั้งครรภ์ พญ.วิภากร เพิ่มพูล อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวถึง โรคกรดไหลย้อนในช่วงตั้งครรภ์ ว่า - ในช่วงที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้อง อาจมีอาการแสบบริเวณลิ้นปี่จากการอาเจียน เพราะน้ำย่อยที่อาเจียนออกมาจะทำให้แสบหลอดอาหารได้และอาจมีความรู้สึกขมที่ลิ้น รู้สึกเจ็บปวดในอก และอาจกระจายถึงคอและเป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอและอาการไอเรื้อรังได้ - นอกจากอาการแพ้ท้องแล้ว อาการปวดแสบลิ้นปี่ของคนท้องส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ซึ่งกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารก็ได้รับผลกระทบด้วย บทความแนะนำ อาการแพ้ท้อง บรรเทาได้ด้วยเคล็ดลับ 10 อย่างนี้ - คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะเป็นโรคกรดไหลย้อนได้ง่ายและบ่อย เพราะช่องท้องของคุณแม่โตขึ้นตามการเจริญเติบโตของทารกน้อยในครรภ์ ส่งผลให้ความดันในช่องท้อง ทำให้เกิดการไหลย้อนของกรด, น้ำย่อย และน้ำดี ได้ - อาการแสบร้อนกลางอกมักเป็นในช่วงหลังอาหาร หรืออาจจะเกิดช่วงกลางคืน ยิ่งถ้างอตัว อาการก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น - กรดไหลย้อนมักจะมีอาการมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6-12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และจะเป็นอีกครั้งในช่วงใกล้คลอด
อาการ กรดไหลย้อนในช่วงตั้งครรภ์ 1. อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก อาการแบบนี้มักจะมีอาการมากในช่วงหลังจากที่คุณแม่รับประทานอาหารมื้อหนัก ๆ เข้าไป ยิ่งถ้ามีการโน้มตัวไปข้างหน้า การนอนหงาย อาการจะยิงเป็นมากขึ้นตามไปด้วย 2. อาการอีกอย่างหนึ่ง คือ จะมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก มีอาการเรอ จนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับหลอดอาหารขึ้น ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบมีเลือดออกจากหลอดอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก 3. ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร 4. เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ ต้องพยายามกระแอมออกบ่อย ๆ 5. หืดหอบ ไอแห้ง ๆ เสียงแหบ เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบได้
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease) นพ.ภูริช ประณีตวตกุล ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบารามาธิบดี กล่าวถึง โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease) คือ การที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลขึ้นมาผ่านหลอดอาหารทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้ ๆ เช่น หลอดลม, กล่องเสียง แต่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นจึงใช้คำว่า “กรด” แทน