✅ Checklists ✅ สิทธิ์ประกันสังคมต่างๆ / บัตร 30 บาท

❌❌ ขออนุญาตไม่ตอบคำถามที่เขียนไว้แล้วนะคะ เหนื่อยจะอธิบายค่ะ เขียนไว้ให้หมดแล้ว ❌❌ 📌 สิทธิ์ 30 บาท (บัตรทอง) - คลอด (ผ่า) + ทำหมั้น ( 30บาท) - จ่ายเพิ่มเติมแต่ค่าห้องพิเศษ (แล้วแต่ที่ จ่ายเอง ถ้ามี ) - ค่าฝากพิเศษ (จ่ายเอง ถ้ามี) ** กรณีย้ายสิทธิ์ ใช้เวลาประมาณ 15-30 วัน ** 📌 ค่าฝากครรภ์ จาก ประกันสังคม - 1,000 ฿ เท่านั้น ! ( ได้ครั้งเดียว!) เอกสารที่ต้องใช้ (ต้องครบ 3 ไตรมาสถึงเบิกได้) 1. ใบเสร็จค่าฝาก (ทุกครั้ง) 2. ใบรับรองแพทย์ (ที่ระบุอายุครรภ์) หรือ สมุดชมพู 3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 4. สำเนาหน้าสมุดธนาคาร 5. เลขบัตรประจำตัวประชาชนสามี ** รวบรวมไปเบิกพร้อมค่าคลอดก็ได้ค่ะ** 📌 ค่าคลอด จาก ประกันสังคม 33./39. - คลอดก่อนสิทธิ์หมด 6 เดือน - เบิกได้แค่ 1 สิทธิ์เท่านั้น !! ** แนะนำให้ใช้สิทธ์ของแม่ ** - สิทธิ์พ่อ ได้แค่ 13,000฿ (เฉพาะแม่ที่ไม่มี ปกสค.) - สิทธิ์แม่ ได้ตามฐานเงินเดือน (แปะรูปให้ด้านล่าง) + ค่าหยุดงาน = ได้เยอะกว่าของพ่อ ✅✅ - เบิกได้ทั้งจดทะเบียนสมรส / ไม่จด (กรณีไม่จด จะมีเอกสารให้เซ็น และใช้พยาน 1-2 คน ) ** ระยะเวลาเงินเข้า 1-2 สัปดาห์ ** 📌 ค่าสงเคราะห์หยุดงาน กรณีลาคลอด 90วัน - ใช้สิทธิ์ได้ 2 ครั้ง ( จะคนที่เท่าไหร่ก็ได้ ) - คำนวณจากฐานเงินเดือน 50% (ตามรูปด้านล่าง) ‼️** ผู้ประกันตน 39 ได้ 7,200฿ ** ‼️ ** กรณี “ลาออก” จากงาน : คลอดภายใน 6 เดือนที่สิทธิ์ยังคุ้มครองอยู่ได้รับเงินหยุดงาน 45 วัน จาก ปกส. 📌 ค่าสงเคราะห์บุตร จาก ประกันสังคม (600฿) - ใช้ทะเบียนสมรส ** กรณี ไม่ได้จดทะเบียน สามารถใช้ใบรับรองบุตร แทนได้ * - ได้จนบุตรอายุ 6 ปี (ไม่เกิน 3 คน) ** ระยะเวลาเงินเข้า 3 เดือน นับจากยื่นเรื่อง ** 24/06/63 💕 📌 คำถามเพิ่มเติมจากคอมเม้น 1. ลาออกจากงาน เบิกได้ไหม? เบิกได้เท่าไหร่? ตอบ : สิทธิ์คุ้มครองหลังจากออกงานอีก 6 เดือน ถ้าคลอดภายใน 6 เดือนนี้เบิกได้ค่ะ แต่ !! - เงินลาคลอดได้แค่ 45 วัน จากฐานเงินเดือนเดิม - ขึ้นทะเบียนว่างงาน จะได้รับค่าหยุดงาน 30% จากฐานเงินเดือนเดิม 2. ต้องจ่ายมาแล้วกี่เดือนถึงเบิกได้ ? ตอบ : *ค่าคลอด/ค่าลาคลอด 90วัน ต้องส่งอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอด * ค่าฝากครรภ์ 1,000฿ ต้องส่งไม่ต่ำกว่า 12 เดือน * 3. ใช้สิทธิ์แม่คลอด 30 บาท แล้วเบิก ปกส. ได้ไหม? ตอบ : ของแม่เลือกใช้ได้แค่สิทธิ์เดียวเท่านั้น !! ถ้าแม่ใช้ 30 ต้องใช้เบิก ปสก. ของพ่อ 4. ลาออกจากงาน ส่งเอง (มาตรฐาน 39) ได้เท่าไหร่? ตอบ : ค่าคลอด + ลาคลอด 90 วัน คิดจากฐานเงินเดือน 4,800฿ คือ 13,000+7,200฿ = 20,200฿ เพิ่มเติม : https://money.kapook.com/view90698.html

103 Các câu trả lời

กรณีที่ยังม่ได้หย่ากับสามีเก่า(แต่เลิกกันมากกว่าสิบปีแล้ว) แล้วมีลูกกับสามีใหม่ ใช้หนังสือรับรอง เบิกค่าคลอดในสิทธิ ปกส.ของสามีปัจจุบันได้มั้ย

VIP Member

สอบถามค่ะ ลาออกจากบริษัท ไม่ได้ส่งประกันสังคมต่อ แล้วมาทำงานรัฐวิสาหกิจ แบบนี้ถ้าเราส่งประกันต่อ เราสามารถเลิกค่าคลอดบุตรได้มั้ยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขาดส่งเกิน 6 เดือนไหมคะ ? ถ้ายังไม่เกินสิทธิ์ยังอยู่ค่ะ

ตั้งครรภ์แล้วบริษัทให้หยุดงาน จ่ายเรา75%จนกว่าจะคลอด เราเบิกค่าหยุดงานกับ ปกส.ได้เต็มตามฐานเงินเดือนเราไหม หรือยึดตามฐานที่จ่ายบริษัทจ่าย75% ค่ะ

คิดจากฐานเงินเดือนเราค่ะ

VIP Member

พอดีออกจากงานเเล้วสิทธิ์​คุ้มครอง6เดือน เเล้วไปสิ้นสุดเดือนที่คลอดพอดี เราสามารถเปลี่ยนมาใช้บัตรทองได้ไหมคะ หรือทำบัตรทองก่อนคลอดได้ไหมคะ

ขอบคุณมากนะคะ💞

ออกจากงานเดือน มี. ค 63. แต่สิทธิ์คุ้มครองถึง 24 ส. ค. จะคลอด14 ก. ค แบบนี้จะได้เงินสงเคราะห์หยุดงาน 90มั้ยค่ะ มาตตรา 38 ค่ะ จะเบิกค่าคลอดได้เท่าไหร่ค่ะ

ถ้าลาออกก่อนคลอดไม่เกิน 6 เดือน เบิกได้ค่ะ ถ้าเกิน แค่วันเดียวสิทธิ์ก็หมดทันที ยกเว้นเราจะไปทำเป็นมาตรา 39

สอบถามผู้รู้หน่อยค่ะ พอดีมี ปกส อยุ่ ร. พ เอกชน แต่มีสิทธิ์30อยุ่ ร. พ รัฐ เราสามารถใช้สิทธิ์30ในกรณีคลอดบุตรได้มั้ยค่ะพอดีฝากครรภ์อยุ่ ร. พ รัฐค่ะ

ขออนุญาตถามค่ะ กรณีที่จ่ายประกันสังคมมาแล้ว 7 เดือน และคลอดในเดือนที่ 7 มีสิทธิ์เบิกประกันสังคมหรือเปล่าคะ คืออ่านข้อ 2 แล้วยังไม่เข้าใจค่ะ

ได้ค่ะ ส่งเกิน 5 เดือน

กรณี.. ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เงินส่งเคาะบุตร​ เราต้องทำเรื่องเองรึเเฟนทำค่ะ เราไม่มีปะกันสังคม แต่​ เเฟนเรามีปะกันสังคมใครตะต้องยื้นค่ะ

ไม่ได้จดทะเบียนต้องใช้ใบรับรองบุตรค่ะ แต่จะยุ่งยากนิดนึง ให้คุณพ่อยื่นเรื่องค่ะ

ขออนุญาตสอบถามคะ กรณีแม่ลาคลอดแต่ยังได้เงินเดือนจากบริษัทตามปกติ แม่จะยังได้เงินกรณีหยุดงานจากประกันสังคมด้วยมั้ยคะ ขอบคุณคะ

ขอบคุณคะ

สอบถามค่ะ กำหนดคลอดธันวา63 จะใช้สิทธิ์ลาคลอดสามเดือนของบริษัทเราช่วงเดือนตุลาคม สามารถเบิกได้เลยไหม หรือต้องรอคลอดน้องก่อนค่ะ

ค่ะ รายละเอียดตามที่เขียนไว้ให้ค่ะ ไม่ได้เข้าพร้อมกัน

Câu hỏi liên quan

Câu hỏi phổ biến

Những bài viết liên quan