4 Các câu trả lời
หน้าท้องแม่ขยายจนเจ็บตรงสะดือ ในขณะตั้งครรภ์ จะมีการเปลี่ยนแปลงของสะดือมารดาจากผนังหน้าท้องที่ยืดขยายมากขึ้นตามอายุครรภ์ ทั้งนี้ ขึ้นกับลักษณะของสะดือมารดาก่อนการตั้งครรภ์ด้วย บางรายจะมีรูปทรงของสะดือเปลี่ยนไป รูสะดือตื้นขึ้น หรือมีสะดือยื่นออกมามากขึ้น สะดือมีสีเข้มขึ้น ผิวหนังที่ปกคลุมสะดือจะบางตัวมากขึ้น อาจมีอาการเสียวที่สะดือได้เป็นปกติ จำเป็นต้องแยกโรคอื่นที่อาจมีอาการคล้ายกัน เช่น ภาวะผนังหน้าท้องแยกจากการตั้งครรภ์ โดยจะมีรอยแยกของกล้ามเนื้อกลางหน้าท้องทำให้ลำไส้เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ชิดผิวหนังในบริเวณสะดือจนสามารถมองเห็นการบีบตัวของลำไส้ได้ โรคอื่นที่พบได้น้อยมากคืออาจมีภาวะแทรกซ้อนจากลำไส้ที่เคลื่อนมาติดอยู่ในรอยแยกของกล้ามเนื้อหน้าท้องจนมีอาการปวดได้ ซึ่งจะตรวจคลำพบก้อนที่สะดือของมารดาได้ บางรายที่มีไส้เลื่อนบริเวณสะดืออยู่แล้วก่อนการตั้งครรภ์ อาจมีอาการมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์จากมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น บางรายอาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเย็บซ่อมรอยแยกไส้เลื่อนภายหลังคลอดบุตร
สาเหตุที่แม่ท้องเจ็บตรงสะดือ อาการปวดหรือเสียวที่สะดือนั้นมีอยู่จริง มารดาเหล่านั้นไมได้คิดไปเอง เพียงแต่อาการอาจจะเป็น ๆ หาย ๆ เริ่มในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ อาการแสดงไม่ชัดเจน เมื่อตรวจร่างกายจะไม่พบความผิดปกติ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบได้บ่อยขึ้นในรายที่ตั้งครรภ์แล้วมีการยืดขยายของช่องท้องมาก ๆ เช่น มีทารกตัวโต ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ คนท้องเจ็บตรงสะดืออันตรายไหม มีผู้พยายามศึกษาวิจัยหากลไกการเกิดโรคไว้ แต่ยังคงไม่มีคำอธิบายถึงสาเหตุของอาการเจ็บสะดือของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ บ้างว่าอาจเป็นเพียงประสาทสัมผัสที่ผิวหนังบริเวณนี้ของมารดาที่ไวมากขึ้น โดยทั่วไปอาการเจ็บสะดือจะดีขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น อีกทฤษฏีหนึ่งก็คืออาจมีการยืดขยายของเส้นเอ็นหรือเนื้อเยื่อที่ยึดติดกับสะดือมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์ หรือในรายที่มีประวัติเคยผ่าตัดในช่องท้องมาก่อนอาจจะมีพังผืดยึดลำไส้หรือไขมันในช่องท้องให้มาติดที่สะดือ เมื่อตั้งครรภ์จึงรู้สึกปวด
ท้องเจ็บตรงสะดือ ท้องเจ็บตรงสะดือ จี๊ด ๆ กดเจ็บ หรือคันรอบ ๆ สะดือ ตั้งครรภ์ ตึงสะดือ เจ็บสะดือ จี๊ดๆ อาการคัน เจ็บสะดือของคนท้อง เป็นปกติไหม อันตรายหรือเปล่า เกิดจากอะไร คนท้องเจ็บตรงสะดือ สะดือทารกในครรภ์เชื่อมกับสะดือของแม่หรือไม่ ในขณะที่เป็นทารกในครรภ์ สะดือที่ผนังหน้าท้องของทารกทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อจากช่องท้องของทารกผ่านสายสะดือไปยังรกที่เกาะติดอยู่กับผนังมดลูกด้านใน จึงไม่มีการเชื่อมต่อใดใดไปยังสะดือของมารดา ทารกจะได้รับสารอาหารและออกซิเจนผ่านทางสายสะดือพร้อมทั้งขับของเสียออกจากร่างกายทารกผ่านทางสายสะดือนี้ด้วย เมื่อคลอดจำเป็นต้องมีการตัดสายสะดือ ทั้งนี้ เพื่อแยกรกออกไป จึงเป็นการตัดวงจรที่แม่เชื่อมต่อกับทารกในครรภ์ หลังจากนั้นสายสะดือจะค่อย ๆ ฝ่อยุบตัวลงจนเหลือขนาดเล็กและแห้งจนหลุดไปเอง โดยแผลสะดือของทารกหลังคลอดจะปิดสนิทภายใน 1-2 สัปดาห์
ปกติจ้า บริเวณเนื้อตรงสะดือจะบางมาก หมอบอกจะรู้สึกเจ็บได้ง่าย