วิธีรับมือ เท้าบวมตอนท้อง
หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งนานๆ และไม่ควรนั่งไขว่ห้าง
นอนยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจโดยใช้หมอนสัก 2 – 3 ใบ รองใต้ขา จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และช่วยลดน้ำหนักที่กดทับมาจากมดลูกได้
ดื่มน้ำสะอาดมากๆ และงดเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ ที่มีคาเฟอีน
ทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารจานด่วน
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด เพราะเกลือหรือโซเดียมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์
ออกกำลังกายเบาๆอย่างเหมาะสมด้วยการเดินหรือว่ายน้ำตามคำแนะนำของคุณหมอ
เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบายและรองรับการขยายตัวของเท้าที่ใหญ่ขึ้นของคุณแม่ และไม่ควรใส่ถุงเท้าที่รัดแน่นเกินไป
เท้าบวมตอนท้อง
เท้าบวมตอนท้อง แบบไหนที่ต้องรีบไปพบแพทย์
แม้ว่าอาการ เท้าบวมตอนท้อง จะเป็นอาการปกติที่แม่ท้องส่วนใหญ่มักจะเป็นกันบ่อย แต่หากมีอาการและความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วยก็ไม่ควรนิ่งนอนใจนะครับ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะครรภ์เป็นพิษได้ โดยอาการผิดปกติอื่นๆประกอบไปด้วย
น้ำหนักเพิ่มมากอย่างรวดเร็ว ประมาณสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม
มีอาการบวมบริเวณใบหน้ามากผิดปกติ
มีภาวะซีด จ้ำเขียว
กดบริเวณที่มีอาการบวมแล้วเป็นรอยบุ๋ม
ความดันโลหิตสูง
ปวดศีรษะรุนแรง
ตาพร่ามัว
มีอาการปวดใต้ลิ้นปี่
คลื่นไส้ อาเจียน
ตรวจพบโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ