คุณแม่ท่านไหน แบบเจอภาวะแท้งคุกคามบ้างค่ะ
ของเราประจำเดือนขาด1เดือนกว่าๆ ไม่รู้ว่าตัวเองท้อง ไปซื้อที่ตรวจมาตรวจ #ตรวจเจอว่าท้องหลังจากตรวจเจอได้ 3-4วัน มีเลือดออกคล้ายๆประจำเดือน ไปหาหมอมาแล้วหมอบอกเสี่ยง #ภาวะแท้งคุกคาม เราควรปฎิบัติตัวยังไง ทานอาหารยังไง ถ้าเราเป็นแบบนี้ #ขอความรู้จากแม่ๆหน่อยค่ะ???
จะป้องกันภาวะแท้งคุกคามได้อย่างไรบ้าง ? สำหรับแท้งคุกคามจะสามารถป้องกันได้ เมื่อคุณแม่รู้แล้วว่าตัวเองเคยมีประวัติการแท้งมาก่อน ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีสาเหตุซึ่งป้องกันได้ และกลุ่มที่มีสาเหตุซึ่งป้องกันไม่ได้ มีรายละเอียดดังนี้ สาเหตุการแท้งคุกคามที่ป้องกันได้ งดการสูบบุหรี่ งดการดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท เช่น ไวน์ เบียร์ เหล้า หรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนน้อย และเครียดก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการแท้งคุกคาม ในกรณีที่มีความผิดปกติของโพรงมดลูก ต้องมีการดูแลรักษาด้วยการผ่าตัดให้เรียบร้อยก่อนตั้งครรภ์ หากต้องทำงานที่เกี่ยวข้องสัมผัสกับสารเคมี ต้องหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด การรับประทานยาที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ เช่น ยาในกลุ่มรักษาสิว ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ไม่ควรยกของหนักและระมัดระวังอุบัติเหตุ เช่น การนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ การกระแทกแรงๆ เพราะอาจทำให้รกลอกตัวบางส่วนส่งผลให้มีเลือดออกทางช่องคลอดได้ สาเหตุการแท้งคุกคามที่ป้องกันไม่ได้ ระบบสืบพันธุ์ของคุณแม่มีความผิดปกติ เช่น มดลูกไม่แข็งแรง, ผนังมดลูกบาง โครโมโซมของทารกในครรภ์ผิดปกติ มีโรคประจำตัว เช่นโรคไต โรคเอสแอลอี โรคความดันโลหิตสูง เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพตลอด 9 เดือน จึงมีความจำเป็นที่ผู้หญิงทุกคนควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ รวมทั้งการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ทุกครั้งเพื่อช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาแทรกซ้อนทางสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ
Đọc thêmแท้งคุกคาม แท้งคุกคาม (Threatened abortion) หมายถึงการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 14 สัปดาห์ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดโดยปากมดลูกยังปิดอยู่ คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดตรงท้องน้อยคล้ายกับการปวดประจำเดือน ซึ่งเกิดจากมดลูกบีบตัว ในรายที่มีภาวะแท้งคุกคามเกิดขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรตามมาได้ วิธีสังเกตอาการของภาวะแท้งคุกคาม ตกขาวมีสีน้ำตาลปนเลือด มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด ปวดท้องหน่วงๆ บีบตรงท้องน้อย ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแท้งคุกคาม ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก สูบบุหรี่จัด มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคเอสแอลอี โรคความดันโลหิตสูง มีการติดเชื้อในช่องคลอด ทารกในครรภ์มีโครโมโซมผิดปกติ มีเนื้องอกมดลูกทำให้การฝังตัวของรกไม่ปกติ การขาดฮอร์โมนเพศที่ช่วยในการประคับประคองการตั้งครรภ์ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หนามากพอในการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก
Đọc thêmการรักษาอาการแท้งคุกคาม เมื่อตรวจพบแล้วว่าคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการแท้งคุกคาม หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่ายังสามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ ก็จะได้รับการรักษาแบบประคับประคอง (Supportive treatment) ซึ่งแพทย์มักจะรักษาด้วยยาฮอร์โมนเพื่อช่วยพยุงการตั้งครรภ์ มีทั้งชนิดรับประทาน สอดทางช่องคลอด หรือฉีดยาเข้ากล้ามที่เรียกกันว่า ฉีดยากันแท้งให้ และหากยังมีอาการมากอยู่แพทย์มักจะให้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งไม่ให้ทำกิจวัตรประจำวันที่สุ่มเสี่ยงต่อการแท้ง (ในคุณแม่ท้องบางรายอาจต้องลาออกจากงานเพื่อรักษาตัวจนกว่าลูกจะคลอด) หากจะมีการแท้งตามมา ในบางรายอาจมีการเสียเลือดมากแพทย์จะพิจารณาให้เลือด หรือสารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ ในกรณีที่ต้องให้ยาแก้ปวดแพทย์จะให้รับประทานยาแก้ปวดชนิดอ่อนๆ ที่ไม่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์
Đọc thêmภาวะแท้งคุกคามสามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อได้หรือไม่? ในแม่ตั้งครรภ์ที่มีการแท้งคุกคามเกิดขึ้นแล้ว ร้อยละ 50 จะสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ อีกร้อยละ 50 จะมีการแท้งบุตรตามมา ซึ่งในรายที่ตรวจพบความผิดปกติของการตั้งครรภ์ โดยธรรมชาติร่างกายของคุณแม่จะมีปฏิกิริยาทำให้เกิดกระบวนการแท้งขึ้นเอง ในรายที่ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) แล้วพบหัวใจทารกเต้นอัตราปกติ จะทำนายได้ว่าสามารถตั้งครรภ์ต่อได้ร้อยละ 90 โดยไม่พบว่าเพิ่มความพิการของทารกในครรภ์ ดังนั้นตั้งแต่เริ่มช่วงแรกของการตั้งครรภ์หากคุณแม่พบว่าตัวเองมีเลือดออกไม่ว่าจะออกกะปริบกะปรอย หรือออกมาก ร่วมกับมีอาการปวดท้อง ควรไปพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ
Đọc thêmการดูแลตัวเองเมื่อมีภาวะแท้งคุกคามเกิดขึ้น ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ทุกอย่าง ไม่เพิ่มเรื่องเครียดให้กับตัวเอง นอนพักผ่อนมากๆ หยุดการทำงานหนัก ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่เดินทางบ่อย หรือโดยสารรถสาธารณะที่ไม่ปลอดภัย เช่น นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์, ขึ้นเครื่องบิน, นั่งเรือ
Đọc thêm